การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย สำหรับพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม

Main Article Content

ฌาน ปัทมะ พลยง
ดวงเดือน ฤทธิเดช
มริสสา กองสมบัติสุข
กิตติพล ไพรสุทธิรัตน
ขนิษฐา เสมานุสรณ์

บทคัดย่อ

ความรอบรู้สุขภาพเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมพนักงานให้มีสุขภาพดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัย ใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 546 คน เครื่องมือเป็นแบบตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความรอบรู้สุขภาพด้าน อาชีวอนามัย สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามและวัตถุประสงค์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ค่าความเชื่อมั่นแอลฟา และความสัมพันธ์ระหว่างรายข้อ-โดยรวม


          ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.600 – 1.000 โดยผ่านการทดสอบองค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 43 ข้อ สามารถวัดองค์ประกอบได้ 6 ด้านประกอบด้วยการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ (จำนวน 3 ข้อ) การอ่านและทำความเข้าใจ (จำนวน 12 ข้อ) ทักษะสื่อสาร (จำนวน 9 ข้อ) การตัดสินใจและนำไปใช้ (จำนวน 11 ข้อ) การรู้เท่าทันสื่อ (จำนวน 4 ข้อ) และการจัดการสุขภาพตนเอง (จำนวน 4 ข้อ) มีค่าไคเซอร์-เมอเยอร์-ออลคินในการทดสอบความเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.952 ค่าทดสอบของบาร์ทเลทท์ (Bartlett’s test) มีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าไคสแควร์เท่ากับ 9862.476 สำหรับผลการทดสอบความเชื่อมั่นแอลฟาพบว่า มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 และค่าความสัมพันธ์ระหว่างรายข้อ-โดยรวม อยู่ระหว่าง 0.322 - 0.799 สรุปได้ว่า แบบประเมินชุดนี้ผ่านการตรวจสอบตามคุณสมบัติของการวัดและประเมินผล สามารถนำไปใช้กับพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ สำหรับอุตสาหกรรมที่มีลักษณะงานแตกต่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดนี้ควรมีการประเมินผลการทดสอบก่อนนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง. (2548). ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 122ตอนที่ 29, ลงวันที่ 29 มีนาคม 2548.

กองสุขศึกษา. (2560). Health literacy and health behavior. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562,จาก http://www.hed.go.th/linkHed/321

คณะกรรมการอำนายการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรงสาธารณสุข. (2559). (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562,จาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_.pdf

ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ฌาน ปัทมะ พลยง, และพรทิพย์ เย็นใจ. (2561). การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทัศนคติความปลอดภัยเพื่อใช้ประเมินทัศนคติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานตามโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค, 44, 388-399.

ทิพรดา ประสิทธิแพทย์, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ชิงชัย เมธพัฒน์, และอนามัย เทศกะทึก. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานสถานประกอบการขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 792-799.

นพพร ชื่นกลิ่น, สุดา พะเนียงทอง, สุภวาร มนิมนากร, และนาฎอนงค์ เจริญสันติสุข. (2555). ผลกระทบต่อสุขภาพในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 21, 1105-1118.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปริชาต มหาวิทยาลัย-ทักษิณ, 27, 145-163.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือรอบรู้สุขภาพของคนไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

Azizi, N., Karimy, M., Abedini, R., Armoon, B., & Motazeri, A. (2019). Development and validation of the health literacy scale for worker. Development and validation of the health literacy scale for workers. Int J Occup Environ Med, 10, 30-39.

Baker, D.W. (2006). The meaning and the measure of health literacy. J Gen Intern Med, 21(8), 878-883.

Berkman, N.D., Davis, T.C., & McCormack, L. (2010). Health literacy: what is it?. J Health Commun, 15(2), 9–19.

Berkman, N.D., Sheridan, S.L., Donahue, K.E., Halpern, D.J., & Crotty, K. (2011). Low health literacy and health outcomes: an updated systematic re-view. Ann Intern Med, 155(2), 97–107.

Comrey, A.L., & Lee, H.B. (1992). A first course in factor analysis. (2nd ed). Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Drost, E. (2011). Validity and reliability in social science research. Education Research and Perspectives, 38, 105-123.

Garrett, J.H.E. (1985). Statistics in psychology and education. Feffer and Simons Press, New York.

Haghdoost, A.A., et al. (2015). Iranian Health Literacy Questionnaire (IHLQ): An Instrument for Measuring Health Literacy in Iran. Iranian Red Crescent Medical Journal, 17(6), e25831.doi:10.5812/ircmj.17(5)2015.25831

Kickbusch, I., Pelikan, J.M., Apfel, F., & Tsouros, A.D. (2013). Health Literacy. The Solid Facts. 2013. Retrieved September 7, 2019, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 128703/e96854.pdf

Langkusen, U., Vichit-Vadakan, N., & Taptaganporn, S. (2011). Safety and health in the petrochemical industry in Map Ta Phut, Thailand. J Occup Health, 53, 384-392.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med, 67, 2072-2078.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15, 259-267.

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch J Edu Res, 2, 49-60.

Sørensen, K., Broucke, S.V., Fullam, J., Doyle, G., & Pelikan, J. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. Retrieved February 12, 2019, form https://doi.org/10.1186/1471-2458-12-80

Streiner, D.L. (2003). Starting at the beginning: an introduction to coefficient alpha and internal consistency. J Pers Assess, 80, 99-103.

Willians, B., Onsman, A., & Brown, T. (2011). Exploratory factor analysis: A five-step guide for novices. Journal of Emergency Primary Health Care, 8, 1-13.