การประเมินและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางจุลชีววิทยาศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศูนย์สัตว์ทดลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักถึงความปลอดภัยของสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน ดังนั้น การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางจุลชีววิทยาจึงมีความสำคัญและสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและสวัสดิภาพสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณ
เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ปนเปื้อนในอากาศและพื้นผิวภายในห้องปฏิบัติการเลี้ยงสัตว์และพื้นที่สนับสนุนของศูนย์สัตว์ทดลองด้วยวิธีการวางจานเพาะเชื้อและวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณพื้นผิว จากนั้นนำผลมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางจุลชีววิทยา พ.ศ. 2559-2560 ภายในห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ห้องเก็บอุปกรณ์และทางเดินหลักอยู่ในเกณฑ์ดี โดยไม่พบความแตกต่างของอุณหภูมิห้องและความชื้นสัมพัทธ์ อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยเชื้อแบคทีเรียของรองเท้าผู้ปฏิบัติงานเดือนตุลาคม 2559 สูงกว่าในแต่ละเดือน ที่ทำการเก็บตัวอย่าง (16.0 ± 1.8 cfu/100 cm2, P = 0.002) และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ฉะนั้นจึงพัฒนาแนวทางปฏิบัติและติดตามผลการทำความสะอาดรองเท้าและแผ่นรองเท้า เป็นระยะเวลา 1 ปี (พ.ศ. 2561-2562)
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยเชื้อแบคทีเรียของรองเท้าลดลงในทุกเดือนที่ทำการเก็บตัวอย่างและสถานะสุขาภิบาลเดือนตุลาคม 2561 อยู่ในเกณฑ์ดี (10.0 ± 4.1 cfu/100 cm2) ดังนั้น ผลการศึกษานี้แสดงถึงประสิทธิภาพ
การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางจุลชีววิทยาและเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากล
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
จอมจิน จันทรสกุล. (2553). มาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง. ว.โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์ บริการโลหิต20(4), 297-301.
บุศรา แก้วสมุทร. (2562). การตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอากาศ ผนัง พื้น ในพื้นที่เลียงสัตว์และพื้นที่สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ทดลอง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภาวี วิสาวะโท และคณะ. (2554). คุณภาพอากาศทางจุลชีววิทยาในห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองและส่วนสนับสนุนการเลี้ยงของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลับมหิดล. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49, ประเทศไทย, 594-600.
วีรานุช หลาง. (2554). จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติ. (2555). เพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สลช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาตรฐานคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน (มคกส.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). รายงานประจำปี 2558. ปุทมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Aycicek, H., Oguz, U., & Karci, K. (2006). Comparison of results of ATP bioluminescence and traditional hygiene swabbing methods for the determination of surface cleanliness at a hospital kitchen. International Journal of Hygiene and Environmental Health, 209(2), 203-206.
Dahmardehei, M., Alinejad, F., Ansari, F., Bahramian, M., & Barati, M. (2016). Effect of sticky mat usage in control of nosocomial infection in Motahary Burn Hospital. Iranian journal of microbiology, 8(3), 210-213.
Napoli, C., Marcotrigiano, V., & Montagna, M.T. (2012). Air sampling procedures to evaluate microbial contamination: a comparison between active and passive methods in operating theatres. BMC Public Health, 12:594.
National Research Council (US) Committee for the Update of the Guide for the Care and Use of Laboratory Animals. (2011). Guide for the Care and Use of Laboratory Animals. 8th edition. Washington (DC): National Academies Press (US).
Prussin, A.J., Vikram, A, Bibby, K.J., & Marr, L.C. (2016). Seasonal Dynamics of the Airborne Bacterial Community and Selected Viruses in a Children's Daycare Center. PLoS One, 11(3), e0151004.
Pereira, R.S., Tipple, A.V., Reis, C., Cavalcante, F.O., & Belo, T. (2008). Microbiological analysis of high speed handpiece submitted to the decontamination with ethylic alcohol 70%. Revista Odontológica do Brasil Central, 17(44), 124-32.
Ramabu, S., Boxall, N., Madie, P., & Fenwick, S. (2004). Some potential sources for transmission of Campylobacter jejuni to broiler chickens. Letters in Applied Microbiolog, 39, 252-256.
Roque, K., et al. (2016). Epizootiological characteristics of viable bacteria and fungi in indoor air from porcine, chicken, or bovine husbandry confinement buildings. Journal of veterinary science, 17(4), 531-538.
Rückerl, I., Muhterem-Uyar, M., Muri-Klinger, S., Wagner, K.H., Wagner, M. & Stessl, B. (2014). L. monocytogenes in a cheese processing facility: learning from contamination scenarios over three years of sampling. International Journal of Food Microbiology, 189, 98-105.
Sandle, T. (2011). Environmental monitoring. In: Microbiology and sterility assurance in pharmaceuticals and medical devices. New Delhi: Business Horizons, 293–326.
Schlapp, G., Fernández-Graña, G., Arévalo, A.P., & Crispo, M. (2018). Establishment of an environmental microbiological monitoring program in a mice barrier facility. Annals of the Brazilian Academy of Sciences, 90(3), 3155-3164.
Shahid, M.A., Abubakar, M., Hameed, S., & Hassan, S. (2009). Avian influenza virus (H5N1); effects of physico-chemical factors on its survival. Virology Journal. 6:38.
Wilkins, K.C. & Water, A.B. (2004). HVAC design in animal facilities. Ashrae Journal, 46:35-40.