การศึกษาความพร้อมในการให้บริการตรวจวัดเสียงของหน่วยบริการตรวจวัดเสียง ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพร้อมในการให้บริการตรวจวัดเสียงของผู้ให้บริการตรวจวัดเสียงในประเทศไทย รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่ให้บริการตรวจวัดเสียง โดยมีขนาดตัวอย่างจากการสุ่มจำนวน 30 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าหน่วยบริการตรวจวัดเสียงร้อยละ 86.7 ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และทุกหน่วยงานให้บริการได้ทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.7 มีเครื่องวัดเสียงทั่วไปไม่เกิน 10 เครื่อง ร้อยละ 25.0 มีเครื่องวัดเสียงทั่วไปพร้อมวิเคราะห์ความถี่เสียง 6-10 เครื่อง ร้อยละ 40 มีเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสมไม่เกิน 5 เครื่อง และร้อยละ 40 มีเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม 11-15 เครื่อง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพของสถานประกอบกิจการจะเป็นผู้กำหนดจุดตรวจวัดเสียงร่วมกับหน่วยบริการ ทีมงานร้อยละ 76.7 ที่ให้บริการตรวจวัดเสียงมีจำนวนไม่เกิน 5 คน โดยประกอบด้วยผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทีมผู้ตรวจวิเคราะห์ผลของหน่วยบริการอย่างน้อยมีวุฒิปริญญาตรีหรือโทด้านอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า การรับรองผลตรวจหน่วยบริการได้ดำเนินการตามกฎหมายกําหนด จากผลการศึกษาจึงเสนอแนะให้ศึกษาข้อมูลด้านคุณภาพและมาตรฐานการตรวจวัดและวิเคราะห์เสียงในสถานประกอบกิจการของหน่วยบริการตรวจวัดเสียง
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.