แนวทางการจัดการด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยแก่แรงงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

Main Article Content

พศิน เก้าพัฒนสกุล

บทคัดย่อ

แรงงานคือหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่ใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการทำงานให้แก่องค์กร การที่องค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีแรงงานที่มีสุขภาพกายใจเข้มแข็งแข็งแรง ย่อมส่งผลต่อการผลิตที่ดี ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์กร เป็นการสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กร และขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่มั่นคงและมีเสถียรภาพในที่สุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยแก่แรงงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณจากเจ้าหน้าที่ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 500 ราย โดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิง และสถิติเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการจัดการด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยแก่แรงงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ความรู้ ด้านกฎระเบียบและนโยบาย ด้านสภาพแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัย ด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วม และด้านความร่วมมือจากภายนอก (2) การพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความน่าจะเป็นของไคสแควร์เท่ากับ 0.088 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.137  ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเท่ากับ 0.959 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคาดเคลื่อนเท่ากับ 0.017 และ (3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า องค์ประกอบด้านกฎระเบียบและนโยบายส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.36), ส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.20), และส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านองค์ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.88) องค์ประกอบด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วมส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านความร่วมมือจากภายนอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.97) องค์ประกอบด้านองค์ความรู้ส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.81), และส่งอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R=0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย