ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

narong - chaitiang

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เพื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดพะเยา รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางทัศนคติที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดพะเยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 64.80) ซึ่งมี (ร้อยละ 47.00) อายุอายุอยู่ระหว่าง15 – 25 ปี และส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 51.00 และร้อยละ 79.20) ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ในบ้านเช่า/หอพัก ในส่วนสถานภาพในครอบครัว พบว่า (ร้อยละ 72.00) บิดา-มารดาอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัว ด้านโรคประจำตัวพบว่า มีเพียง (ร้อยละ 17.80) มีโรคประจำตัว จากตัวอย่างทั้งพบว่า (ร้อยละ 74.00) เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในเขตจังหวัดพะเยา พบว่า ร้อยละ 54.00 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง
(11- 13 คะแนน) และ (ร้อยละ 70.00) มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของปัจจัยทางสังคมเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า (ร้อยละ 56.50) มีปัจจัยทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และ
มี (ร้อยละ 12.80) มีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรม พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และ
ปัจจัยทางสังคมมัความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ระดับนัยสำคัญ และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสมการด้วย Goodness-of-Fit พบว่า สมการที่สร้างขึ้นมามีประสิทธิภาพดี(p-value = 0.059)
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ควรมีการสร้างเสริมองค์ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนผลเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตนเอง และครอบครัว รวมทั้งสังคมรอบข้าง ตลอดจนทักษะในการรู้จักปฏิเสธการดื่มแอกอฮอล์ และการมีทัศนคติต่อผลเสียในการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์

Article Details

บท
บทความวิจัย