การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มี 4 ขั้นตอน: (1) เตรียมการและศึกษาสภาพการณ์ (2) พัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการนิเทศทางคลินิก (3) ทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบ (4) นำไปใช้และประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วย 14 คน พยาบาลวิชาชีพ 70 คน ผู้ป่วยในที่เสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบและไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ 136 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสำรวจสภาพการณ์นิเทศ และคู่มือการนิเทศทางคลินิก ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 1.00 เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามผู้นิเทศ แบบสอบถามผู้รับการนิเทศ และแบบสอบถามผู้ป่วย ค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ และแบบบันทึกข้อมูลการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิก มี 2 องค์ประกอบ: (1) การให้ความรู้การนิเทศทางคลินิกแก่ผู้นิเทศ และการให้ความรู้การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลแก่พยาบาลวิชาชีพ (2) คู่มือการนิเทศทางคลินิก ประกอบด้วย 2.1 ทำความเข้าใจประเด็นการนิเทศ 2.2 กำหนดเป้าหมายการนิเทศ 2.3 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของประเด็นนิเทศ 2.4 กำหนดทางเลือกปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการนิเทศ และ 2.5 สรุปผลการนิเทศร่วมกัน ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้นิเทศมีความรู้และมีทักษะการนิเทศสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และพึงพอใจในระดับมาก ( Mean 4.75, SD .33) ผู้รับการนิเทศมีความรู้และมีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) และพึงพอใจในระดับมาก ( Mean 4.68, SD .34) ผู้ป่วยพึงพอใจในระดับมาก (Mean 2.89, SD .84) อัตราการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลลดลงจาก 0.29 เป็น 0.13 ต่อ 1,000 วันนอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Reference
American Thoracic Society, Infectious Diseases Society of America. Guidelines for the management of adults with hospital-acquired, ventilator-associated, and healthcare-associated pneumonia. American journal of respiratory and critical care medicine 2005;171(4):388.
Department of Disease Control. Pneumonia. [cited 2024 Jan 21] Available from:
https://www.ddc.moph.go.th/disease_detail.php
Stepinski J,et al. Impact of an Oral Care Intervention among Medical Surgical Patients. MEDSURG NURSING. 2022; 31(2), 91-99.
Wanpen Boonprasert. Incidence and impact of pneumonia in the Medical ward at Chiangkham hospital. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2019; 13(1): 35–43. Thai.
Chiangkham hospital. Report on pneumonia in Chiangkham hospital, 2021-2023. Phayao: Chiangkham hospital; 2023.
Alexander, G. Behavioral coaching The GROW model. Excellence in coaching: The industry guide. (2nd ed.). Philadelphia, PA: Kogan Page;2010.
Alexander, G. Behavioral coaching The GROW model. Excellence in coaching: The industry guide. (2nd ed.). Philadelphia, PA: Kogan Page;2010.
Ruammek, L. (Producer). Clinical Supervision under nursing standards. General Meeting 2020 of Thailand Nursing Association ;2020.
Rabeab khunpakdee, Darunee Tuampetch. Development of Clinical Supervision Model among Mechanically Ventilated Patients in Medical Intensive Care Unit, Hatyai Hospital.Journal of Nursing Division 2024; 51(1): 18–34. Thai.
Kanya Liankruea, Supaporn Payunmahisorn, and Sirikul Karuncharernpanit. The Development of Clinical Supervision Model for Ventilator Associated Pneumonia Prevention among the Intensive Care Unit in PhaholpolpayuhasaenaHospital. Journal of Roi Kaensarn Academy. 2022; 7(9): 300-315.Thai
Noppornpong Wongwikkarn, Kwanta klakanna. Development of Clinical Supervision Model for prevent Hospital Acquired Pneumonia in Medical department at Uthai Thani Hospital. Kamphaengphet hospital Journal. 2020; 24(1): 63-73. Thai
Piya Boocha and Niphitphon Seangduang.Research and development:Process and Application. Journal of Phrae Public Health for Development .2021;1(1): 77-89.Thai