แผนพัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางตามระบบบริการสุขภาพ และการขับเคลื่อน สู่การปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดและขับเคลื่อนแผนพัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางตามระบบบริการสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความต้องการพยาบาลเฉพาะทาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 901 แห่ง รวม 901 คน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสำรวจสถานการณ์ฯ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ค่า CVI เท่ากับ 0.80, 0.90 ระยะที่ 2 กำหนดแผนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาการพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และผู้บริหารการพยาบาลระดับเขตสุขภาพ 22 คน และระยะที่ 3 ขับเคลื่อนแผนฯ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจากส่วนกลางและเขตสุขภาพ ผู้บริหารสภาการพยาบาล ผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่ผลิตหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง และผู้บริหารการพยาบาลระดับเขตสุขภาพและระดับจังหวัด 111 คน เก็บข้อมูลแบบ mixed methods วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัย พบว่า ความต้องการพยาบาลเฉพาะทางของแผนฯ 35 หลักสูตร มี 27,786 คน เขตที่มีความต้องการมากที่สุด คือ เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 3,245 คน (ร้อยละ 11.68) รองลงมา คือ เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 2,910 คน (ร้อยละ 10.47) และเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 2,678 คน (ร้อยละ 9.64) โดยสาขาที่ต้องการมากที่สุด คือ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ และสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว/ทั่วไป ร้อยละ 13.09, 8.87, 8.48 ตามลำดับ การกำหนดแผนพัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางเป็นแผนระดับเขตสุขภาพและระดับกระทรวง ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571) โดยพิจารณาจากความเร่งด่วนและความขาดแคลน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารการพยาบาล ให้ความเห็นชอบแผน การขับเคลื่อนแผนฯสู่การปฏิบัติครอบคลุมทุกโรงพยาบาลและทุกจังหวัด ซึ่งการศึกษานี้ สามารถใช้กำหนดแผนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางระดับประเทศ ระดับเขตสุขภาพ และระดับหน่วยงาน และเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทางให้สอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางตามระบบบริการสุขภาพของประเทศต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health, Thailand. Blueprint of Health Service and Human Resource. [Internet].2020. [cited 2023 Jun 15]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8852. (in Thai)
Ananya Kooariyakul, Sasidhorn Chidnayee, Seubtrakul Tantalanukul, Alisa Subsung, Parado Lortamma, Ausanee Wanchai, et al. Situation of Health Workforce Development in Health Regional 2. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2018 (Special Issue): 32-45. Thai.
Rungnapa Chantra, Atiya Sarakshetrin, Yupawadee Kantabanlang, Phensri Thongphet, Panida Arwut, Piyada Yuychim. The Situation of Health Workforce Development in Regional Health 11. Journal of Prachomkloa College of Nursing, Phetchaburi Province. 2018;1(1):14-25. Thai.
Jureerat Kitsomporn, Viliporn Runkawat, Pitsini Mongkhonsiri. Supporting Factors and Guidelines for Human Resource Development for Health Care Systems in Health Regions in Thailand: Policy Makers’ Perspectives. Thai Journal of Public Health and Health Sciences; TJPHS. 2020;3(2):27-40. Thai.
Ministry of Public Health, Thailand. Service Plan 2566 – 2570 BE. Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai co., Ltd. 2023. (in Thai)
National Health Commission office, Thailand. Reforming workforce planning for the next decade involves creating a healthcare team and incorporating technology to facilitate management. [Internet]. 2021. [cited 2023 Dec 5]. Available from: https://www.nationalhealth.or.th/en/node/877 Thai.
Thailand Nursing and Midwifery Council. List of specialized nursing training courses certified by the Thailand Nursing and Midwifery Council. [Internet].2022. [cited 2023 Jun 16]. Available from: https://www.tnmc.or.th/news/84. Thai.
Teeraporn Sathira-Angkura T. Reform of the Ministry of Public Health and the mechanism for improving the quality of nursing services in transitional health service areas. Journal of Nursing Division. 2013;40(3):1-8. Thai.
Stefik M. Planning and meta-planning. Artificial Intelligence. 1981;16(2):141-69.
Stefik M. Planning with constraints. Artificial Intelligence. 1981;16(2):111-39.
Sanya Kenaphoom and Saowalak Kosolkittiampor. Conceptual Framework of Planning and Plan
Management. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 2017, 4(2), 389-411. Thai.
Sanya Kenaphoomม Kodchaporn Prathumwan. Plan Implementation: Process and Management. Sarakham Journal. 2017;8(1):84-108. Thai.
Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of school psychology, 43(3), 177-195.
Pudtan Phanthunane, Adun Bamrung, Thidaporn Jirawattanapisal, Nonglak Pagaiya, Boonruang Khaonuan, Thinakorn Noree. A Utilization-Based Model to Predict Human Resources for Health (HRH) in Secondary Care Services of Thailand 2026. Journal of Health Systems Research. 2018;12(2):205-20. Thai.
Jureerat Kitsomporn, Viliporn Runkawat, Pitsini Mongkhonsiri. Supporting Factors and Guidelines for Human Resource Development for Health Care Systems in Health Regions in Thailand: Policy Makers’ Perspectives. Thai Journal of Public Health and Health Sciences; TJPHS . 2020;3(2):27-40. Thai.
Mintraporn Thipwichai. Operating conditions and development guidelines for driving the provincial health service system in Uttaradit province. Journal of Health Research and Development Nakhon Rachasima Provincial Public Health Office. HRDNR. 2017;3(2):34-51. Thai.