การพัฒนาระบบการพยาบาลฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่

Main Article Content

นัชชา สุนทรสวัสดิ์
นฤมล อนุมาศ
ธิดารัตน์ เหลี่ยมไกร
ประณีต ส่งวัฒนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการพยาบาลฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI (2) ศึกษาความรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้ระบบการพยาบาลฉุกเฉินฯ และ (3) เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการใช้ระบบการพยาบาลฉุกเฉินฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI จำนวน 104 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ระบบการพยาบาลฉุกเฉิน และ (2) คู่มือความรู้ของพยาบาลการดูแลผู้ป่วย STEMI  ในการบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI (2) แบบสอบถามผู้ป่วย STEMI (3) แบบบันทึกผลการดูแลผู้ป่วย STEMI: Fast track (4) แบบสอบถามความรู้พยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรง ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.8, 0.8, 0.8 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ไคสแคว์ และ independent t test


ผลการศึกษา พบว่า ระบบการพยาบาลฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ระบบบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์บนรถพยาบาล (2) การดูแลผู้ป่วย STEMI ในห้องฉุกเฉิน และ (3) การประเมินผู้ป่วย STEMI ให้ได้รับการเปิดหลอดเลือดได้ทันเวลา ความรู้ของพยาบาลหลังการใช้ระบบการพยาบาลฉุกเฉิน อยู่ในระดับดีมาก และสูงกว่าก่อนใช้ระบบการพยาบาลฉุกเฉิน แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยเสียชีวิตลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)  ระยะเวลารวมในการดูแลผู้ป่วยลดลงจาก 139.23 นาที (SD 80.41) เป็น 130.23 นาที (SD 79.25)

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Reference

Strategy and Planning Division of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Annual Action Plan 2021 Ministry of Public Health. Nonthaburi: Strategy and Planning Division; 2021. Thai.

The Heart Association of Thailand. The Acute Coronary Syndromes Guidelines 2020. Bangkok: The Heart Association of Thailand; 2020. Thai.

Krittaya Dangsuwan, Nongnuch Boonyoung, Ansuma Apichato. Core competencies of accident and emergency nurses as perceived by nurses in hospitals under the Ministry of Public Health in the three sounthern border provincers. Songkla Medical Journal 2008; 26(3):227-237. Thai.

Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. DtschArztebl Int. 2010;107(50):892-8.

Osit Bombut, Piyaporn Sirijanchune. Outcome of STEMI fast pass system development in Chiangrai -Phayao cardiac network.Chinagrai Medical Journal. 2021;13(1):121-34. Thai.

Jirawan Rungrangwarin, Srisuree Soonpayanon, Unchalee Kongsombun. Development of fast track system for patients with STEMI in PhraNakhon Si Ayutthaya Province.Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2016;6(1):1-14. Thai.

Chatchai Kraysubun C, editor. Guideline for ER service delivery. 2nd ed. Nonthavuri: Department of Medical Services; 2021. Thai.

Chaveepong Bunyakan. Competency of registration nurses in caring for STEMI patients in Secondary Hospitals, Nakhon Si Thammarat Province. Thai Health Science Journal and Community Public Health. 2020;3(1):22-34. Thai.

Yang Y, Hao Y, Liu J, Yang N, Hu D, Sun Z, et al. Practice of reperfusion in patients with ST-Segment elevation myocardial infarction in China: findings from the Improving Care for Cardiovascular Disease in China-Acute Coronary Syndrome project. Chin Med J (Engl). 2022;135(23):2821-8.

Sasithorn Changsuwan, Jinjutha Rodpal, Srisuree Soonpayanon, Somsong Bootcheewn. Development of emergency nursing system in STEMI patients. Emergency Department, PhraNakhon Si Ayutthaya Hospital. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2018;8(3):372-84. Thai.

Paweenuch Jeangool, Sukanya Sabisook, Saiphin Kongkaew, Praphasiri Wimonsinrapin, Ploenphit Luelap, Thanyaradee Kramkhieo, et al. Clinical performance and quality of care for patient with ST-Elevation myocardial infarction at the emergency department in Central Chest Institute of Thailand. Journal of Department of Medical Services. 2019;44(6):77-84. Thai.

Thai ACS Registry. ST-Segment Elevation Myocardial infarction STEMI [Internet]. 2021. [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://healthkpi.dms.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1780. Thai.