การพัฒนารูปแบบการจัดบริการทางการพยาบาลวิถีใหม่ สำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการจัดบริการทางการพยาบาลวิถีใหม่ สำหรับผุ้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภายใต้ 4S care model กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 60 คน พยาบาลวิชาชีพ 30 คน ดำเนินการ 3 ระยะ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ และ (3) ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการจัดบริการทางการพยาบาลฯ เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ (1) แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ป่วย (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย (3) แบบประเมินความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล (5) แบบประเมินความพร้อมในการให้บริการทางการพยาบาล (6) แบบสนทนากลุ่ม และ (7) แบบบันทึกผลลัพธ์การใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดบริการทางการพยาบาลฯ มี 3 ระยะ ครอบคลุม 4 ด้านของ 4S care model ดังนี้ ระยะที่ 1 การป้องกันและลดผลกระทบ และเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้าง ด้านระบบและการบริการ ด้านบุคลากร และ ด้านมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ระยะที่ 2 การดูแลผู้ป่วย ระยะที่ 3 การฟื้นฟูสภาพหรือสิ้นสุดการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่า หลังใช้รูปแบบ ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ป่วยมีคะแนนความพึงพอใจในระดับมาก (Mean 4.42, SD 0.64) คะแนนความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) พยาบาลมีคะแนนความพึงพอใจในระดับมาก (Mean 4.26, SD 0.53) การติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ป่วยและพยาบาลหลังการใช้รูปแบบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Tanongsak Sangsawangwatthana, Nidchchanun Sirisaiyas, Chot Bodeerat. A new way of life and adaptation of Thai people after Covid-19: work education and business. Journal of local Governance and Innovation. 2020;4(3):371-86. Thai.
Somtavil Ampornareekul,Somrak Sirikhetkon and Anchaleeporn Amataykul. Developing care management model for patients with dangerous contagious diseases emerging diseases and re- emerging diseases in Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2022;16(1):1-12. Thai.
Department of Disease Control. Covid-19 situation [Internet] .2022 Aug 10 [cited 2022 Aug 30]; Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main Health Administration Division.
Center for COVID 19 Situation Administration Thailand [internet]. 2021 [cited 2021 Apr 24]. Available from: http://www.moicovid.com/.
Jennings-Sanders A Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings Disaster Nursing Management Model. Nurse Educ Pract [Internet] 2004 [cited 2021 Jan 30];4(1):69-76. Available from: https://doi. org/10. 1016/S1471-5953(03)00007-6.
Anonglak Punpromthada.Predicting COVID-19 related preventive behaviors using three psycho-social models in undergraduate student. (dissertation).Bangkok. National Institute of Development Administration; 2021. Thai.
Natawan Khumsaen. Knowledge, attitudes, and preventive behaviors of COVID-19 among people living in Amphoe U-thong, Suphanburi province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province. 20201; 4(1): 33-48. Thai.
Daranchanok Phansuma and Pongsit Boonruksa. New normal among health personnel to prevent coronavirus disease 2019 : A study of Fort Prachaksilapakom Hospital, Udon Thani province. Journal of Nursing and Health Care. 2020;38(4):45-53. Thai.
Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.