ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ต่อสมรรถนะการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ผุสดี สระทอง
เบญจวรรณ เกตุกุลชร
นิรมล อรชร
เนื้อทอง ด่านพยัคฆ์
ปิ่นมณี คุ้มจันอัด
ปิยฉัตร แกมนาค
พรรณนิภา หิรัญขจร
พิมพ์วลัญช์ อินประเสริฐ
วิมลนันท์ พุฒิวณิชพงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 การสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของวัยรุ่น ดังนั้น การป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ต่อสมรรถนะในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  สมรรถนะในการป้องกันการ      สูบบุหรี่ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ทัศนคติในการป้องกันการสูบบุหรี่ และทักษะในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี  การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายถูกใช้เพื่อสุ่มให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม มีนักเรียนห้องละ 29 คน ระยะเวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ แบบประเมินทัศนคติในการป้องกันการสูบบุหรี่ และแบบประเมินทักษะการปฏิเสธการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และ t-test independent


                ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่  ทัศนคติในการป้องกันการสูบบุหรี่ และทักษะในการปฏิเสธการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001)  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ผ่านแอพลิเคชั่นไลน์มีสมรรถนะในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ดังนั้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นควรได้รับความรู้เรื่องบุหรี่อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทางได้สะดวก เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่าย

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Reference

[Internet]. [cited 2023 Aug 29]. Available from: https://www.cdc.gov/tobacco/sgr/50th-anniversary/

pdfs/fs_smoking_youth_508.pdf

Office of the Health Support Fund. the cost of smoking Bangkok Health Support Fund Office; 2020 [Available from: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/KNr8.

Center for Research and Knowledge Management for Tobacco Control. Summary of surveillance situation for controlling tobacco consumption in Thailand Bangkok: Center for Research and Knowledge Management for Tobacco Control; 2017 [Available from: https://www.trc.or.th.

Jiraporn Suwamat, Maneerat Thiammok. A Review of Activity Guidelines to Prevent Smoking for Adolescents. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok. 2020;34(1):141-9.

Kanokwan Silppasek, Sirilak Suesat. Relationship between Perceptions of Health Belief Model in Smoking Prevention. and attitude toward smoking and self-efficacy in smoking control among junior high school students. in the Minburi area. Public Health Nursing Journal. 2020;34(3):18-36.

Chollada Chaikulwatana, Prakaidao Suthi, Wichasanee Jaimalai. Smoking Behavior and Risk Factors Associated with Smoking among Early Adolescents in Phayao Province. Journal of Nursing, Ministry of Public Health. 2017;27(3):57– 67.

Becker, Marshall H. “The Health Belief Model and Sick Role Behavior.” Health Education Monographs, vol. 2, no. 4, 1974, pp. 409–19. JSTOR, http://www.jstor.org/stable/45240625. Accessed Aug. 1, 2021.

Chalinee Kitchaicharoenporn, Somkid Prapphai. Effectiveness of Applying a Health Belief Model to Promote Self-Protection Behaviors from Secondhand Smoke in Adolescents. Journal of Health Education, Physical Education and Recreation. 2021;47(2):183-96.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the Health Belief Model. Health Educ Q. 1988;15(2):175-183. doi:10.1177/109019818801500203

Natchaya Palacheewa, Pramote Thangkratok. Effects of an Internet-Based Smoking Prevention Program for Students in Non-formal and Informal Education Centers. Journal of Thai Red Cross Nursing. 2021;14(1):256-72.

Wareesak Saadiam, Aree Pumprawit, Darawan Rongmuang. Effects of a smoking behavior modification program among working-age men in Chaiya District, Surat Thani Province. Journal of Graduate Research. 2016;7(1):85-100.

Pribadi ET, Devy SR. Application of the Health Belief Model on the intention to stop smoking behavior among young adult women. J Public Health Res. 2020;9(2):1817. Published 2020 Jul 2. doi:10.4081/jphr.2020.1817