การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสุโขทัย

Main Article Content

อุไรวรรณ จุ้ยต่าย
วชัญญา บุณยมณี
ศิริพร วงศ์จันทรมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติและศึกษาผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 80 คน และ ผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง แบบประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ แบบติดตามและเฝ้าระวังการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง แบบประเมินความรู้เรื่องยาและการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพ  ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา CVI = 1.0


 ผลการวิจัย พบว่า การนำแนวปฏิบัติ ไปใช้ในร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ทำให้การปฏิบัติการพยาบาลมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้านผู้ให้บริการ พบว่า คะแนนความรู้เรื่องยาและการบริหารยาเสี่ยงสูงของพยาบาลหลังได้รับการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติมากกว่าร้อยละ 80 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติโดยรวมในระดับมาก (Mean 4.06, SD .24) ด้านผู้ใช้บริการ อุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการใช้ยาเสี่ยงสูงของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ลดลงจาก 10.86 เป็น 3.21 ครั้งต่อ 1,000 วันให้ยาเสี่ยงสูง สรุปว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ลดอุบัติการณ์หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบได้ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาเสี่ยงสูงในโรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Ladda Jampat , A Development of Caring Model for Patients with Sepsis in Surat Thani Hospital Nursing, Health, and Education Journal. 2020; 3(2):56-66. Thai.

Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D.2017. [Internet]. 2018 [cited 2021, March 19]. Available from: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistics60.pdfThai.

Panya Tuandoung, Nataya Kamsawang, Nursing Care System Development For Sepsis and Septic Shock Patients, Buddhachinaraj Medical Journal. 2019; 36(2):180-195. Thai.

Sudarat Sutharapan, Thanawan Sanpanya. Development of Nursing Practice Guideline for Prevention High Alert Drugs Administration in PHRAE Hospital. Journal of Nursing Division .2009; 36(3):76-95. Thai.

Thitiporn Pathomjaruwat. Effect of implementing Nursing Guideline for prevention of extravasation on incidences of extravasation in patients at risk. Journal of Nursing Division. 2016; 31(2): 95-108. Thai.

Thitiporn Pathomjaruwat. Prevention and Management of Extravasation in Infusion Therapy. Songklanagarind Journal of Nursing. 2017; 37(2): 169-181. Thai.

Medication error statistics. Center for Quality and Safety Management. Sukhothai Hospital. 2017 - 2019. Thai.

Surapee Ethongchai, Orawan Somboonjan,Development of a Nursing Practice Guidelines for High Alert Drugs Administration, Samut-Sakhon hospital. Journal of Nursing. 2020; 47(1): 34-47. Thai.

Kittirat Sawasrak, Sunsanee Chaiyabutra,The Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Patients with Peripheral Intravenous Catheters. Chaiyaphum Medical Journal. 2018; 38(3):50-60. Thai.

Prakayrung Tontupthai ,Kanittha Vorathongchai , Effects of a Professional Nurse Coaching Program on Adherence to Guidelines and Reduction of Error Rates in the Administration of High Alert Drugs. Journal of Nursing and Health Care. 2020; 38(1): 59-68. Thai.

Pajaree Sakvalysakul, Ussanee Siriwongprom,The Effect of Clinical Nursing Practice Guideline for Prevention Extravasation from Norepinephrine Injection, Christian University Journal. 2019; 25(2): 92-108. Thai.