การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

Main Article Content

ดุษฎี รงรอง
ภัครินทร์ ชิดดี
ธิดารัตน์ พรหมกสิกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ดำเนินการ 4 ระยะ คือ (1) ศึกษาสถานการณ์  (2) พัฒนารูปแบบการพยาบาล (3) นำสู่การปฏิบัติ  (4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่  ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน จำนวน  72 ราย และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 32 คน เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาความรู้พยาบาลวิชาชีพ และแนวปฏิบัติการพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพโดยความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบบันทึกคุณภาพการรักษาพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ .81 แบบวัดความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ทดสอบความเชื่อมั่น โดย KR-20 เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ สถิติ pair t- test


ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาความรู้พยาบาลวิชาชีพและเครือข่าย และแนวปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านคุณภาพการพยาบาล คือ ความรู้ และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ที่พบว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนผลลัพธ์ด้านการบริการสุขภาพ ได้แก่ การเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 การเข้าถึงช่องทางด่วน (Stroke fast tract) การได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ภายใน 60 นาที และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเคลื่อนย้ายออกจากห้องฉุกเฉิน พบว่า มีการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพิ่มขึ้น ทำให้เข้าถึงช่องทางด่วนสูงขึ้น ผู้ป่วยได้ยา rt-PA ภายใน 60 นาที เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเคลื่อนย้ายออกจากห้องฉุกเฉินลดลง

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

World Stroke Organization. Worldstroke campaign. [cited 2021 July 3]. Available from: http://www.world-stroke.org/advocacy/ world-stroke-campaign

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health Strategy and Planning Division. (2017). Annual public health statistics. (2017). [cited 2021 July 5]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_ bps/sites/default/fifiles/stratistics60.pdf

Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, Brozman M, Dávalos A, Guidetti D, et al. Thrombolysis with alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Engl J Med. 2008;359(13):1317-29.

Stroke Patient Care Committee, Amnat Charoen Hospital. (2021). Minutes of the Stroke Board of Directors Meeting, No. 1 dated 20 August 2021.

Donabedian, A. (2003). An introduction to quality assurance in health care. New York, NY: Oxford University Press. Erickson, S. M. (1998).

Prakong Karnasut. (1999) Statistics for Behavioral Science Research. Krongthep : Chulalongkorn University.

YperzeeleL, et al. Pre-hospital Stroke Care: Limitations of Current Interventions and Focus on New Developments. Cerebrovasc Dis 2014; 38: 1–9.

Quain DA, et al. Improving access to acute stroke therapies: a controlled trial of organisedpre-hospital and emergency care. Med J Aust 2008; 189(8): 429-3.

Middleton S, Grimle R, Alexandrov AW. Triage, Treatment, and Transfer Evidence-Based Clinical Practice Recommendations and Models of Nursing Care for the First 72 Hours of Admission to Hospital for Acute Stroke. Stroke 2015; 46: e18-e25.

Tararat Songsitthikul, Orawan Health. Development of a nursing service system for vascular disease patients. Cerebral thrombosis treated with thrombolytic drugs Ratchaburi Hospital. Journal of Nursing, Ministry of Public Health. 2016; 26(3): 142-53.

Boonyarat Pekdej. Development of a care model for stroke patients. Phetchabun Hospital. District Medical Journal 11. 2020; 34(3): 7-21.