การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลเลิดสิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลเลิดสิน ดำเนินการ 3 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) ดำเนินการพัฒนา และ (3) ประเมินผล เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของโรงพยาบาล และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ประกอบด้วย การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย การบริหารจัดการความเสี่ยง และนวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผลลัพธ์ มี 4 ด้าน คือ (1) ด้านสุขภาพสรีรวิทยา พบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติฯ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 (2) ด้านการรับรู้สุขภาพ พบว่า อาการปวดลดลงหลังได้รับการบรรเทาอาการปวด และมีความพึงพอใจต่อการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 84.20 (3) ด้านสุขภาพการทำหน้าที่ของร่างกาย พบว่า อัตราการเกิดการพลัดตกหกล้ม การเกิดข้อกระดูกสะโพกเลื่อนหลุด และการเกิดสะโพกหักซ้ำ เป็นศูนย์ทั้งก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ และ (4) ด้านครอบครัว หรือผู้ดูแล พบว่า ญาติมีความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาล ร้อยละ 82.0 และ พบว่า ความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ปฏิบัติ โดยรวมมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Johnell O, kanis JA. Osteoporosis international: a journal established as result of Cooperation between the European Foundation for Osteoporosis and the National Osteoporosis Foundation of the USA. 2006;17(12):1726–1733. https://doi.org/10.1007/s00198-006-0172-4
Parker, M., Johansen, A. Hip fracture. British Medical Journal. 2006;333:755:27-30.
Tarantino U, Iolascon G, Cianferotti L, et al. Clinical guidelines for the prevention and treatment of osteoporosis: summary statements and recommendations from the Italian Society for Orthopaedics and Traumatology. Journal Orthop Traumatol. 2017;18 (Suppl 1): 3-36. doi: 10.1007/s10195-017-0474-7.
Powell, S.K., Tahan, H.A. Case management: A practice guide for education and practice. 3rd. Philadelphia.F.A David company. 2010.
Healthcare Accreditation Institute (Public Organisation). Patient safety Goads: SIMPLE Thailand 2018. Nonthaburi: Famous and Successful; 2018.
Nursing Division, Ministry of Public Health. Quality Assurance of Nursing: Quality Assessment of Inpatient Nursing. Bangkok: Samcharoen Panich; 2011. Thai.
Kemmis, S., McTaggart, R. The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press; 1992.
Borg, Walter R, Gall, Meredith Damien. Educational research: an introduction (5th ed). Longman, New York; 1989.
Lincoln, Y.S., Guba, E.G. Naturalistic inquiriny. Newburg Park, CA: stage Pulications; 1985.
Kessarawan N. Action Research for Community Nursing. Khon Kaen: Klungnana Printing Press; 2015. Thai.
Smith, G.B. In-Hospital Cardiac Arrest: Is it Time for an in-Hospital Chain of Prevention. Resuscitation. 2010; 81(9):1061-1218.
Anong T, Porn B, Kesorn K. Registered nurses' perception on patient safety culture and the development of patient safety in Phayao hospital. Journal of Health Science Research. 2014 Jul-Dec; 8(2):6-16. Thai.
Somporn S, Piyatida J, Pimrat B, Vipada S. Patient Safety Culture: Perception of State Hospital Nurses. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2019 May – Aug; 20(2):327-339. Thai.
Nangnoy S. Patient Safety Curriculum Guide Multi- Professional (WHO): Learning Integration for the 21st Century Bachelor’s Degree Nursing Curriculum. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2015 Sep - Dec;16(3):1-7. Thai.