การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10

Main Article Content

จันทร์ฉาย ทองเพ็ญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10 (2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10 และ (3) ประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10 อยู่ในระดับปานกลาง (2) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยแรงงานในเขตสุขภาพที่ 10  ประกอบด้วย (2.1) ด้านความรู้ โดยการจัดอบรมให้ความรู้ และการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพที่ทันสมัย (2.2) ด้านการออกกฎระเบียบและนโยบาย โดยการนำปัญหาสุขภาพและอาชีวอนามัยมาประกอบการออกกฎระเบียบและนโยบาย (2.3) ด้านการจัดการสภาพแวดล้อม โดยการตรวจสอบความปลอดภัย และการจัดสภาพแวดล้อมตามกฎระเบียบและนโยบาย (2.4) ด้านการจัดกิจกรรมและการมีส่วนร่วม โดยการสนับสนุนกิจกรรม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ และ (2.5) ด้านการสร้างเครือข่าย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยกับหน่วยงานภายนอก (3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก  


 

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Bureau of Occupational and Environmental. Diseases. Diseases and health hazards from occupation and environment. 1st ed. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2018. Thai.

Ministry of Labor. Situation of danger or illness due to work. Bangkok: Ministry of Labor; 2022. Thai.

Office of the National Economic and Social Development Council. Proportion of health expenditures (medications, medical expenses) to total household expenditure (GDP) 2006-2019. [Internet]. 2019 [cited 2021 Nov 28]; Available from: http://www.social. nesdb.go.th. Thai.

Adul Buntukul. Textbook of Occupational Medicine. 1st ed. Bangkok: Nopparat Rajathanee Hospital; 1999. Thai.

Srisuda Wongwisetkul, Benja Taoklam and Netratchanee Tangpakpoom. Health management sustainable occupational safety and health in Industrial factories: a case study of factory in Samut Sakhon province. JBCN_Nakhon Ratchasima. 2013;19(1): 42-56. Thai.

Kwanruethai Yimlamai and Rattanawadee Thongbuaban. Basic occupational health. 1st ed. Phitsanulok: Phitsanulok University; 2013. Thai.

Bureau of Labor Safety. National master plan on occupational safety, health and environment (2012-2016). 1st ed. Bangkok: Bangkok Blog; 2012. Thai.

Udomlak Baikrai. Opinions of employers and occupational health officers on health promotion indicators in the workplace. (thesis). Bangkok: Chulalongkorn University; 2002. Thai.

Woraluck Kaewchantra. The role of nurses in occupational health and environment operations in the workplace. (thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University; 2016. Thai.

Jan Pattama Playong. Quality examination of the occupational health knowledge assessment form for employees in industrial plants. JSH. 2020; 13(2): 140-157. Thai.

Pasin Kaopattanasakul. Guidelines for management of health and occupational health for labor in Industrial Business. (thesis). Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok; 2019. Thai.