การพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายเพื่อลดการกลับมารักษาซ้ำ ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พรทิพย์ บุญกันทะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยและพัฒนานี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายเพื่อลดการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (2) ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติ ดำเนินการ 4 ระยะ 1) ศึกษาปัญหาและสถานการณ์ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติ 3) ทดลองใช้แนวปฏิบัติ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 20 ราย และพยาบาล 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายฯ (2) แบบประเมินการวางแผนจำหน่ายฯ (3) แผนการสอนการดูแลตนเองให้ผู้ป่วย (4) คู่มือการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจฯ (5) แบบบันทึกการติดตามผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจฯหลังจำหน่ายโดยการโทรศัพท์ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อแนวปฏิบัติ (7) แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วย (8) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อการนำแนวปฏิบัติฯมาใช้ (9) แบบสอบถามคุณภาพของแนวปฏิบัติฯ (10)  แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติ ตรวจสอบค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ ได้ 0.90 ค่าความเชื่อมั่นครอนบาคอัลฟ่า คือ 0.95  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test


ผลการศึกษา พบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติฯ ไม่มีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่ายภายใน 28 วัน ค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพของแนวปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายฯแบบ D-METHOD ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดีมาก และสูงกว่าแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  การประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติ พบว่า สามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติฯ ของผู้ป่วย และพยาบาล อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.88, SD 0.13 และ Mean 4.46, SD 0.55) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

References

Rosswurm MA, Larrabee JH. A model for change to evidence-based practice. Journal of Nursing Scholarship. 1999; 31(4): 317–322.

Nattaporn Limrangsan. Caring for patients with acute coronary syndrome using a clinical care plan: evidence-based nursing. Master of Nursing Thesis. Faculty of Nursing. Mahidol University. 2011.Thai.

Tamikkaborworn S. Holistic Nursing: A Case Study. Bangkok: Thanapress Company Limited. 2011. Thai.

Zafari AM, Yang EH. Myocardial infarction [Internet].2011 [cited 2022 Oct 11]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/155919-overview#a0156

Banyen Chairin, Thitinat Akkadechanunt, Somjai Sirakamon. Quality Improvement of discharge planning for patients with Acute Myocardial Infarction in Cardiac Care Unit, Nakornping Hospital. Chiang Mai Province. Nursing Journal. 2020; 47(3): 389-399.

Ladawan Ritklar. Results of discharge planning by using D-METHOD on re-admission and satisfaction in patients with coronary artery disease. Thammasat University Hospital Journal. 2018; 3(3):19-27. Thai.

Darunee Winaipanich,Panee Viratchakun,Chinda Phudphong, et al. The Development of a Case Management Model for Patients with Acute Myocardial Infarction. Journal of Nursing Division. 2020; 43(2): 101-126

Cardiac center of Nakhon Pathom Hospital.( 2020).Annual report.(2020). Nakhon Pathom Hospital. Nakhon Pathom Province.

Bureau of Non Communicable Disease. (2022). Situation Report of Non Communicable Disease. Aksorn graphic and Design Publishing Limited Partnership. Bangkok,2/88.

Nursing Division of Ministry of Public Health.(2022).Indicator Guideline for Nursing Service Development. Ministry of Public Health.Thailand:27/75.

Chattraphas Pongcharoen.(2012). Teaching Documentation Unit 12 Principles and Techniques for Nursing New Admission, Distribution, Relocation and Referral Record symptoms. Boromarajonani College of Nursing Suphan Buri, 4 September 2012. Retrieved from Preoperative Patients, Phrae Hospital. Independent Study. Master degree of Nursing Administration. Graduate School of Chiangmai University.