รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน

Main Article Content

ธีรพร สถิรอังกูร
ศิริมา ลีละวงศ์
โศภิษฐ์ สุวรรณเกษาวงษ์
ร.ต.อ.หญิง ยุรีพรรณ วณิชโยบล
ขวัญนภา ขวัญสถาพรกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


โครงการรูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน 2) ให้พยาบาลมีความรู้และทักษะการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน 3) ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองได้ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2561 – เมษายน 2564 มี 4 ระยะ ได้แก่ 1) สังเคราะห์การบริการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  2) พัฒนาหลักสูตรการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแล  3) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน  และ 4) ขับเคลื่อนนโยบายและขยายผลลงสู่การปฏิบัติเชิงวิชาชีพ


สรุปผลโครงการ ดังนี้ 1)  มีรูปแบบการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วย 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบ (1) เรื้อรัง (2) ระยะกลาง (3) ระยะยาว  (4) ประคับประคอง (5) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และผู้ดูแล 2) พยาบาล 380 คน มีความรู้-ทักษะสร้างเสริมสุขภาพด้วยการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน  ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 95.83 3) ประชาชน 175 คน สามารถจัดการสุขภาพตนเองได้ ร้อยละ 92.75  มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 85.74


ผลกระทบของโครงการ พบว่า 1) มีนโยบายให้องค์กรพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศจัดบริการพยาบาลสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน 2) ขยายบทบาทด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลโดยจัดบริการพยาบาลที่ส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วย ผู้ดูแล และประชาชน 3) ผู้รับบริการ และประชาชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองได้ มีภาวะสุขภาพดีขึ้น 4) มีเอกสารรูปแบบการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วย 5 กลุ่ม และหลักสูตร E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลด้านการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน

Article Details

How to Cite
สถิรอังกูร ธ. . ., ลีละวงศ์ ศ. . ., สุวรรณเกษาวงษ์ โ. ., วณิชโยบล ร. . ย. . ., & ขวัญสถาพรกุล ข. . (2023). รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชน. วารสารกองการพยาบาล, 48(1), 160–172. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/262860
บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

References

Ministry of Public Health. Twenty–year National Strategic Plan for Public Health. Nonthaburi: Strategic and Planning Division, Office of the Permanent Secretary; 2012. Thai.

Lorig KR, Holman HR. Self-manag

ement education: history, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of behavioral medicine. 2003; 26(1):1-7. doi:10.1207/S15324796ABM2601_01.

Creer LT. Self-management. Handbook of self-regulation. In: M Bockaert PRP, M. Zeidner, ed. San Diego; California: Academic Press; 2000.

Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: Background and perspectives

on context, process, and outcomes. Nursing outlook. 2009; 57(4):217-25. e6.

Patricia AG, Lisa LG. Self-Management: A Comprehensive Approach to Management of Chronic Conditions. American Journal of Public Health. 2004;104(8): e25-31.

National Institube for Health and Care Excellence. Intermediate care including reablement. NICE guideline. Published: 22 September 2017.

Andrew T, Joanna KA, Louise M, Wallace CBourne. Self Management: An evaluation of a self-management program for patients with long-term conditions. Patient Education and Counseling. 2015; 98:213–19.

Bridget J, Michael C, Melanie N, Sonja M. Dignity conserving care in palliative care settings: An integrative review. Journal of Clinical Nursing. 2015;24(13-14):1741-2054.

Wagner EH, et al. Improving chronic illness: translating evidence into action. Health Affairs. 2001;20(6):64-78.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Professional Nursing and Midwifery Act. Vol.2 (1985) and Amended by Professional Nursing and Midwifery Act Professional Nursing and Midwifery Act. Vol.2 (1997). 2nd Ed. Bangkok: Golden Point Co.Ltd. Thai.

Wichit Srisuphan, et al.Project on Nursing Profession Movement Towards Health Promotion. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice. 2017;4(2). Thai.

Ministry of Public Health. Notifications of MOPH. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary; 2017. Thai.

Nursing Division, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health.Nursing Standard in Hospitals. wvothai printing. Bangkok; 2007. Thai.

Nursing Division, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health.Nursing Standard in Community. wvothai printing. Bangkok; 2007. Thai.

Knowles MS. The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. New York:

Cambridge the Adult Education Company; 1980.

Waro Pheangsawat. Research and Development. Sakon Nakhon Rajabhat University Journal. 2009;1(2):e1-12. Thai.