ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค

Main Article Content

บวรวรรณ ดิเรกโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาของกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน (กอง ครฉ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2561 ของกรมควบคุมโรค มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน และเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน และ ประสบการณ์การฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน  49 คน เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.60  มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 57.20  จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 67.30  เป็นนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 44.90 มีระยะเวลาปฏิบัติงาน 1-5  ปี ร้อยละ 44.90  ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรมีประสบการณืการทำงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งตนเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงของกลุ่มหรือฝ่าย (Mean 3.80, SD  1.00)  รองลงมา คือ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (Mean 3.76, SD  0.85) และการประสานงานภายในหรือนอกหน่วยงาน (Mean 3.53, SD  0.92)  ความสามารถในการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ระดับปานกลาง  (Mean 2.97, SD  1.15) การเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม ด้านระบาดวิทยา ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข  ด้านแผนงานและยุทธศาสตร์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  หน่วยงานจึงควรส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

References

World Health Organization. SARS How a global epidemic was stopped. [Internet] 2006. [cited 2022 September 19]; Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/207501/9290612134_eng.pdf

World Health Organization. Epidemiology of WHO-confirmed human cases of avian influenza A(H5N1) infection. Weekly epidemiological record. [Internet]. 2006. [cited 2022 September 19]; Available from: https://www.who.int/publications/i/item/who-wer-8126-249-257 .

World Health Organization. Ten years after the tsunami of 2004: Impact action change future. [Internet]. 2015. [cited 2022 September 19]; Available from: https://www.who.int/publications/i/item/ten-years-after-the-tsunami-of-2004-impact-action-change-future.

World Health Organization. Health emergencies list. [Internet]. 2022. [cited 2022 September 19]. Available from: https://www.who.int/emergencies/situations .

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Framework for the Development of Emergency Operations Center and Incident Command System, Department of Disease Control, 2016-2021. Bangkok. The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited; 2015.Thai.

Hunt, J.W. cited in Thongchai Santiwong. Principle of Management. Bangkok: Thai Wattana Panich; 1993. Thai.

Royal Academy. The Royal Institute Dictionary 2525 BE. Bangkok: Aksorn Charoen Tat Publishing House; 1982. Thai.

Kwanruen Wattana. Ability in drug and medical supply management of Tambon health personnel in Chonburi Province. (Thesis). Bangkok: Mahidol University; 1991. Thai.

Chanchai Achinsamacharn. Organizational Behavior. Bangkok: Sahamit Offset; 1978. Thai.

Amorn Nonthasut. Concept of human abilities. A document on the importance of human resources. Nonviolence Center Ministry of Public Health (copy); 2005. Thai.

Somchit Supannatas. Behavior and change. In the teaching materials of the Health Education Series Volume 1 in Health Sciences Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 1984. Thai.

Noppamas Srinuchit. Ability of Community Hospitals Medical Statistics Officers in Thailand. (Thesis). Bangkok: Silpakorn University; 2006. Thai.

Sermsak Wisaporn. Educational Leadership Behavior. Bangkok: Thai Wattana Panich;1978. Thai.

Chom Poomipark. Psychology in Teaching and Learning. Bangkok: Thai Wattana Panich; 1983. Thai.

Parama Satavethin. Mass Communications: Process and Theory. Bangkok: Parbpim; 1996. Thai.

Prasert Chatchaisak. Optimizing the performance of personnel Office of the Royal Secretariat : A Case Study of Motivation. Diplomatic Executive Course. Bangkok: Devawongse Varopakarn Institute of Foreign Affairs Ministry of Foreign Affairs; 2013. Thai.

Takonsak Phromsaka Na Sakon Nakhon. Factors Affecting the Performanace of Royal Thai Army Radio and Television. (Thesis). Bangkok: Sripatum University; 2013. Thai.

Paweenit Makkaew. A study of ability and skills, good service, and teamwork factors affecting competency of operational employees in the Sathorn district, Bangkok. (Thesis). Bangkok: Bangkok university; 2014.Thai.

Rapeepan Inlee . A Study of Personal Characteristics, Supervisors’ Abilities and Managerial Policy Affecting Employees’ Effectiveness in the Headquarter Kasikorn Commercial Bank (Public Company). (Thesis). Bangkok: Bangkok university; 2015. Thai.

Silpcharu, T. Research and Statistical Analysis with SPSS. 11th edition. Bangkok: Business R&D; 2010. Thai.

Suwimon Kongsaktrakul and Danai Monthathipkul. A Survey of Staff ICT Use and Skills at Srinakharinwirot University. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2008. Thai.