ผลของการจัดโปรแกรมการจัดการความเครียด ต่อความเครียด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Main Article Content

รัตนา ด่านปรีดา
แสงนภา พรไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมการจัดการความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเข้ารับการรักษาแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 74  คน แบ่งเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทดลอง 37 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียด (2) กลุ่มควบคุม 37 คน ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานเดิม เครื่องมือเก็บข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการตั้งครรภ์ และแบบประเมินความเครียด (ST-5) ของหญิงตั้งครรภ์ (2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แนวทางโปรแกรมการจัดการความเครียด การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83, 0.80 และ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, pair t-test, independent t-test, Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann Whitney U Test 


ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด มีการกลับมารักษาซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <. 05, p <.05 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีอายุครรภ์เมื่อคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ภายหลังพัฒนาโปรแกรม พยาบาลมีคะแนนความรู้ และคะแนนความพึงพอใจ สูงกว่าก่อนการพัฒนาโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05, <.001ตามลำดับ) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สามารถใช้เป็นแนวทางการพยาบาลในการจัดการความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัย มีอายุครรภ์ครบกำหนด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่กลับมารักษาซ้ำ

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

World Health Organization. Preterm birth Health Statistic. [Internet]. 2017 [Cited 2021 May 1]. Available from http://www.who.intmediacentre/factsheets/fs363/en/

Somboon Boonyakiat. Nursing care in high risk pregnant women1. Bangkok: Sinthana Copy Center; 2557: 1-247. Thai.

Society and Health Institute, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. [Internet]. 2015 [Cited 2021 Feb 1]. Available from http://203.157.19:191. Thai.

Nisagorn Nungkala. The Effects of a Continuous Care on Satisfaction of Nursing Care, Readmission and Gestational Age at Birth in Pregnant Women with Preterm Labor and Neonatal Apgar Score [Internet]. 2015, [Cited 2021 May 1]. Available from http://203.157.19:191.Thai

Maloni JA. Lack of evidence for prescription of antepartum bed rest. Expert Review of Obstetrics &Gynecology 2011;6(4): 385-393.

Lazarus RS, Folkman S. Stress, appraisal and coping. New York: Springer; 1984.

Schleussner E. The prevention, diagnosis and treatment of premature labor. Department of Obstetrics and Gynecology, Jena University Hospital, 2013;110(13), 227-236.

Sureerat Tarasak, Napaporn Apiratchanakun, Nareumon Kantima, Tatirat Tachasuksri. Effects of Stress Reduction Program on Stress and Gaestational Age at Birth Among Pregnant Woman with Preterm Labor. Chonburi Hospital Journal. 2017; 42(3):225-264. Thai.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods. Behavior Research Methods. 2009; 41(4):1149-60.

Orawan Silpakit. Srithanya's stress measurement form. Journal of Mental Health of Thailand. 2008; 16(3):177-85. Thai.

Chadarat Kaewveingdach, Buasorn Vorapoo, Panyupa Naosrisorn, Waraporn Meekaew, Chanika Thonguntang. Development of a Discharge Planing Model for Pregnant Woman with Preterm Labor, Amnatcharoen Hospital. Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University. 2021; 6(1):77-89. Thai.

Benjawan Lahukarn, Sasikarn Kala, Sureeporn Kritcharoen. The Effects of an Education and Progressive Muscle Relaxation Program on Stress among Pregnant Women with Preterm Labor Pain. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2019; 6(2):1-13. Thai.

Supatra Pinkaew, Ameporn Ratinthorn, Yaowalak Serisathien, Wibool Rueangchainikhom. The Effect of Program of Care for Pregnant Women at Risk fot Preterm Labor on the Rates of Preterm Labor and Preterm Birth. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2014; 22(4):58-71. Thai.

Chonthicha Raksatham, Taweesak kaiphol, Kamontip Khungtumneam. The Practiced Guideline for Continuing Care of Pregnant Women with Preterm Labor. Journal of The Royal Thai Army Nurses.2018; 19(August):348-56. Thai.

Ponsiri Senthiri, Sudjai Srisong, Rassamekhere Pomprakai, Maneerat Permchat. Development of the Nursing Model for Pregnant Women to Prevent Preterm Labour. Journal of Nursing and Health care.2016, 34(2):164-173. Thai.