ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยาและการวางแผน การใช้ยาในโรงพยาบาลชลบุรี

Main Article Content

มารยาท สุจริตวรกุล
ประนอม โฉมกาย
พรรณพัชร สกุลทรงเดช
วิลาวรรณ โคกยะสุพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยาและการวางแผนการใช้ยา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยา และการวางแผนการใช้ยาในโรงพยาบาลชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง เลือกสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้น คือ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชลบุรี และมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 6 เดือน จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยา และการวางแผนการใช้ยาของโรงพยาบาลชลบุรี ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีแอลฟ่าของครอนบาค ได้ 0.93 และ 0.98 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะทางวิชาชีพมากกว่า 5 ปี และมีชั่วโมงการทำงาน 8-19 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 74.00 และสามารถปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยาและการวางแผนการใช้ยาอยู่ในระดับที่ดี ร้อยละ 99.50  มีความสามารถในการทบทวนความคลาดเคลื่อนทางยาทำทันทีที่เกิดเหตุการณ์ ร้อยละ 41.20 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัย ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา พบว่าทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารยาและการวางแผนการใช้ยา ข้อเสนอแนะฝ่ายการพยาบาลควรมีการทบทวนความรู้และติดตามนิเทศพยาบาลวิชาชีพในเรื่องการบริหารยา

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Secretariat of the Senate. Constitution of Thailand: Office of the council of state; 2007. Thai.

Phongpan Chantanasombut, Nanthida Phanthusart, Sangrawee Maneesri. Clinical risk management of registered nurses. Journal of nursing Science & health. 2012;35(3):118-24. Thai.

Pond Boonmee, Chalrumpan Makloy. Registered nurses, s perception on patient Safety culture and development of patient safety culture. Journal of nurse. 2011;4(3):48-64. Thai.

Mayo AM, Duncan D. Nurse perceptions of medication errors: what we need to know for patient safety. Journal of nursing care quality. 2004;19(3):209-17.

Keers RN, Williams SD, Cooke J, Ashcroft DM. Prevalence and nature of medication administration errors in health care settings: a systematic review of direct observational evidence. [Internet].2013 [cited 2018 February 23]; Available from: https://www. ncbi.nlm.nih.gov /pubmed/23386063

Santawat Asavaroengchai. Patient safety. Chula Med J. 2003;47(5):333-50. Thai.

Karunrat Tewthanom, Supaluk Tananonniwas. Medication error and prevention guide for patient’s safety. Journal, Silpakorn Univ. 2018; 4(2): 251-65. Thai.

Karunrat Tewthanom, Supaluk Tananonniwas. Medicationerror and Prevention guide for patient’s safety. Veridian E-J. sci. technol. Silpakorn Univ. 2009; 2(1):195-217. Thai.

Volpe, Pinho, Stival, Karnikowski. Medication errors in a public hospital in Brazil. British Journal of Nursing. 2014;23(11):552-9.

Benner P. From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park: Addison-Wesley; 1984: 13-34.

Renata Grou Volpe C, Moura Pinho DL, Morato Stival M, Gomes de Oliveira Karnikowski M. Medication errors in a public hospital in Brazil. Br J Nurs. 2014;23(11):552-9.

Chonburi hospital policy. Drug system management and drug planning. board: Hospital Executive Committee; 2560. Thai.

Thanin Silpcharu. Research and statistical analysis with SPSS. Bangkok: V Inter Print; 2008. Thai.

Brandi Simonsen, Sarah Fairbanks, Amy Briesch, Diane Myers, George Sugai. Medication knowledge, certainty, and risk of errors in health care: a cross-sectional study. BMC Health Services Research. [serial online] 2011 [cited 2018 January 23]; 11:1-9. Available from: https://bmchealthservres.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/1472-6963-11-175

MA Alanazi BPharm MSc, MP Tully BSc (Hons) MSc, PJ Lewis MPharm. A systematic review of the prevalence and incidence of prescribing errors with high-risk medicines in hospitals, [Electronic version] Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. 2016;41(3):239-45.

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook I, cognitive domain. New York: Longman; 1956.

Chaweewan Thongchai. Clinical Practices Guidelines Development. The Thai Journal of Nursing Council. 2005;20(2):63-74. Thai.

Moluedee Phoksiri, Panuwat Pakdeewong, Chommanard Wannapornsiri. A Development of Knowledge Management Model of High Alert Drug Administration for Head Nurses in Hospitals Under Royal Thai Army. Journal of the Royal Thai Army Nurse. 2014;15(1):81-9. Thai.

Ked Gedsana. Development of a drug administration system to reduce drug discrepancies in the nursing care of surgical patients. Suan Dok Nurse Journal [serial online] 2014 [cited 2018 January 23]; Available from: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/downloads/?p=3065