การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน เครือข่ายการพยาบาลในจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สุนันท์ เกียรติชัยพิพัฒน์
สมจิต จันทร์บาง
ชาลี คงสุวรรณ
ปัฐมาพร ช่วยพิทักษ์

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพยาบาลในเครือข่ายและเปรียบเทียบผลลัพธ์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตันของเครือข่ายการพยาบาลในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (1) พยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 70 คน (2) เวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันระหว่างเดือน มกราคม ถึง สิงหาคม 2564 เป็นเวชระเบียนก่อนใช้รูปแบบจำนวน 447 ฉบับ และหลังใช้รูปแบบจำนวน 332 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตันของเครือข่ายการพยาบาลจังหวัดราชบุรี (2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (3) แบบวัดความรู้ และแบบวัดทักษะการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ค่า CVI เท่ากับ 1 แบบวัดความรู้และทักษะมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.43 และ 0.55 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test 


               ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้และคะแนนทักษะการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน เครือข่ายการพยาบาลในจังหวัดราชบุรี มีคะแนนความรู้และทักษะการพยาบาลเพิ่มมากขึ้นก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยพบว่าหลังการใช้รูปแบบดีขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

World Stroke Organization. World Stroke Organization: Annual report. [Internet]. 2016 [cited 2017 Oct 1]; Available from: https://www.world-stroke.org/aboutwso/wso-annual-report

American Stroke Association, (2013), Guidelines for the Early Management of Adults with Ischemic Stroke.[serial online] 2013 Jan. [cited 2013 Jan 2016]; 44(3) : 870-947.

Strategy and Planning Division. Public Health Statistics A.D. 2016. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 2017. Thai.

Siriraj Stroke Center Faculty of Medicine Siriraj Hospital [Internet]. 2021 [cited 2014 Oct 1]; Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/center/sirirajstrokecenter/ TH/History/Derivation.aspx. Thai.

Health Data Center, Ministry of Public Health. [internet]. 2017 [cited 2017 Aug 15]; Available fromhttps://kkhdc.moph.go.Th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11.

Ratchaburi Hospital, (2020), annual performance report 2020. Thai.

Institute of Neurology, (2015) Guidelines for nursing stroke patients for general nurses, Bangkok.

Thai Guidelines of Endovascular Treatment in Patients with Acute Ischemic Stroke. Journal of Thai Stroke Society. 15 (1), 2016: 10-27. Thai.

Bertalanfly, L.V. An outline of general systems theory. British Journal of Philosophical Science, 1, 1950: 134-165. Thai.

Kantimaporn Wiwattrakul, Ladda Anosri. Development of a nursing model for patients with acute

stroke, Kalasin Hospital. Journal of Nursing Division; 2017;44(2): 26-45. Thai.

Sainat Polchaiyo, Amornwan Masang, Bangon Kerdkaew. Development of care system for stroke patients under the context of Tertiary Care Hospital, Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University. 2018 Feb 22:26-35. Thai.

Yuwadee Phongsa. The results of the development of a care model for cerebrovascular disease patients at Sirinthon Hospital, Khon Kaen Province. Journal of the Khon Kaen Provincial Public Health Office. 2020 Dec 31;2(2):139-54. Thai.

Boonyarat Pekdet. Development of a care model for patients with cerebrovascular disease, Phetchabun Hospital. Region 11 Medical Journal. 2020 Sep 23;34(3): 7-21. Thai.