พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตราด

Main Article Content

อันธิกา คะระวานิช
ปรานีต อนันต์
นิธิมา เหล่ารอด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 22 คน และผู้ป่วยจำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ค่าความเชื่อมั่น 1.0 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบประเมินความสามารถการปฏิบัติการพยาบาลฯ    3) แบบบันทึกความสอดคล้องการคัดแยกระหว่างพยาบาลหน้าห้องและในห้องฉุกเฉิน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังใช้แนวปฏิบัติฯ 5) แบบรายงานต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ  t-test  และ Kappa


ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มี 6 ด้าน : 1) ประเมินสภาพทั่วไป 2) เกณฑ์การคัดแยกประเภทผู้ป่วย 3) การพยาบาลเบื้องต้น 4) การให้ข้อมูลด้านสุขภาพ  5) การดูแลต่อเนื่อง 6) การบันทึกทางการพยาบาล ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ พบว่าความรู้เรื่องการพยาบาลและการคัดแยก ก่อนและหลังการอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลคัดแยกประเภทผู้ป่วย สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ความพึงพอใจของพยาบาลหลังใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<.05)  ความสอดคล้องของการคัดแยกประเภทผู้ป่วยของพยาบาลหน้าห้องและในห้องฉุกเฉิน อยู่ในระดับดีมากที่สุด (Kappa .82, p<.05) ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ พบว่า ร้อยละของผู้ป่วยประเภทฉุกเฉินไม่เร่งด่วนและประเภททั่วไป ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์และข้อร้องเรียน

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Fry M, Bucknall TK. Review of the triage literature : Past, present, future? Aust Emerg Nurs J 2002; 5(2):33-8.

2. The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization).(2018). Patient Safety Goals 2018.2 nd edition. Nonthaburi : Famous and Successful. Thai.

3. Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz, E. Modern Triage in the Emergency Department. Medicine, Deutsches Arzteblatt International. Arztebl,
2010;107(50):892-98.

4. Sandy LD, Michale JB, David PM, et al. Emergency triage: Comparing a novel computer triage program with standard triage. Acad Emerg Med. 2005;12:502-7.

5. Panao Tachaathipok, Pariwat Pooyen. Emergency Department Triage. Essential knowledge in emergency care. 1 st ed. Khon Kaen: Klangnana Printing; 2014.
Thai.

6. Sumalee Jakpaisan, Chintanan Sittipracharat, Chadaporn Pramparmamon, Nattanan Mala. Development of learning Program for Knowledge and Ability
Construction in Emergency Severity Triage by Adult learning Therory for Registered Nurses in Emergency Department of Saraburi Hospital. Journal of
Nursing Division. 2017;44(2),46-56. Thai.

7. Nursing Division. Guideline of Nursing Staffing. Bangkok: Organization for the Delivery of Goods and Parcels; 2545. Thai.

8. National Institute of Emergency Medicine. Criteria for separation of emergency patients and remember the order of care at Emergency Department
according the criteria prescribed by National Institute of Emergency Medicine. No.1. Bangkok: National Institute of Emergency Medicine; 2013. Thai.

9. National Health and Medical Research Council NHMRC. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. [Internet].
1998; Available from: http://www.ausinfo.gov.au_hottobuy.html

10. Nonglak Wiratchai. Setting new sample sizes and interesting analysis statistic. [Internet]. 2012 [cited 2019 Jan 20]; Available from
http://lllskill.com/web/files/GPower.pdf. Thai.

11. Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Pres; 1977.

12. Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.

13. Pramote Thangkratok, Harutai Poohomjarean, Supannarat Rinsathorn. Effects of AIDET Communication Program on Satisfaction among Patients and
Families in Cardiac Unit, Bangkok Heart Hospital. Songklanakarind Medical Journal. 2017;35(4):335-42. Thai.

14. Rungnapa Keouchaum. Nursing practice based on evidence based. Journal of the College of Nursing King Prajadhipok, Chanthaburi. 2013;24(2):94-108. Thai.

15. Rosswurm MA, Larrabee JH. A model for change to evidence-based practice. Journal of Nursing Scholarship. 1999;31(4):317-22.

16. Chuchai Samithigrai. Training of personnel in organizations. 8th ed. Bangkok: Chulalongkorn Publishing Office university; 2015. Thai.