บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรในมารดาวัยรุ่น โดยการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาวัยรุ่น ทารก รวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นอย่างต่อเนื่องมาตลอด เช่น การส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นได้รับคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยการปฏิบัติการพยาบาลด้านการวางแผนครอบครัว แต่เนื่องจากมารดาวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยช่วงรอยต่อการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์ อยากรู้อยากลอง แต่ขาดประสบการณ์ มักจะคิดและปฏิบัติตามความคิดของตนเองโดยปราศจากเหตุผลและการยั้งคิดในบางครั้ง แต่ในขณะเดียวกันมารดาวัยรุ่นก็ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนและสังคม ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของพยาบาลที่จะส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีการวางแผนและตัดสินใจเลือกการคุมกำเนิดที่เหมาะสม พยาบาลจึงควรให้การดูแลมารดาวัยรุ่นบนพื้นฐานแนวคิดของการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการ 1) มองเห็นอย่างองค์รวม 2) มองเห็นมนุษย์ และ 3) มองเห็นทุกข์ของผู้อื่น เพื่อที่จะมีความเข้าใจทั้งตนเองและมารดาวัยรุ่น และให้การพยาบาลกับมารดาวัยรุ่นด้วยความเอื้ออาทร เป็นมิตร จริงใจ และต้องการช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นอย่างแท้จริงควบคู่กับการปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลลัพธ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่มีประสิทธิผลต่อไป
Article Details
References
intervention and technology assessment program. 2014;2(15):1-4. Thai.
2. WHO guidelines on preventing early pregnancy and poor reproductive outcomes among adolescents in developing countries. [Internet]. 2011 Apr 3 [cited 2020 Jul 5];
Available from: http://whqlibdoc.who.int/publications/2011/9789241502214_eng.pdf
3. Annual inspection guidelines for the Ministry of Public Health Budget 2018. [Internet]. 2018. [cited 2018 Dec 14]; Available from:
http://203.157.229.18/inspec/2561/inspec1/dog22dec. Thai.
4. Ministry of Public Health. Professional Nursing and Midwifery act B.E. 2528 (1985) revision of the act B.E. 2540 (1997). Bangkok: phetsaim, 2004;2. Thai.
5. World Health Statistics. [Internet]. 2013. [cited 2020 Jul 5]; Available from http://www.who.int/gho/ publications/world_health_statistics/WHS2013_IndicatorCompendium.pd
6. Reproductive health survey in adolescent 2019. [Internet]. 2019 [cited 2020 Jul 5]; Available from http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/inde/
สถานการณ์RH_2561_Website.pdf. Thai.
7. Kesorn Laounka, Jintana Boonjan, Punnee Kukiattikool, Piangjit Tharnprisan, Bhussaba Bungrathok, Molruedee Prasit. Journal of Nursing Science and Health. 2011;34(3):40-7. Thai.
8. Nalinee Panichyawat. Contraception in adolescent. In: Prasong Tonmahasamut, Atthapon Jaishuen, Somsin Petyim, Sanitra Anuwutnavin, editors. OB-GYN In Practice 2018, 1st ed.
Bangkok: S.P.A. living home company limited, 2018; 231-242. Thai.
9. Rankin S. Physiology in childbearing with anatomy and related biosciences. 4th ed. Philadelphia: J. B. Lippincott; 2017.
10. Prawet Wasri. Humanized health care. 1st ed. Nonthaburi: The Healthcare accreditation institute (public organization); 2006; 17-26. Thai
11. Prasert Phalitponkanpim. 19 interrogative for spiritual development. Loei: Rungsangturakitkanpim; 2009; 21-2. Thai.
12. Ketsiri Sriwilai. Repeated pregnancy among adolescents: A case study in a community hospital, Southern Thailand. SCNJ, 2016; 3(3):142-152. Thai.