ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • สิริกร สุธวัชณัฐชา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • ปริมวิชญา อินต๊ะกัน คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • สายใจ ลิชนะเธียร คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คำสำคัญ:

depression chronic diseases and among elderly

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
โรคเรื้อรังในชุมชน จากปัจจัยด้านประชากรและสังคม และปัจจัยด้านสถานะสุขภาพกาย

วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้ผู้สูงอายุ
โรคเรื้อรังจำนวน 256 คน อาศัยอยู่ในชุมชนแขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลช่วง
พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ.2554 โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับความรุนแรงของโรค และแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหูคูณโดยใช้เทคนิคแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย : พบว่า 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าสูง ร้อยละ 66.4 และรองลงมาคือ มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 22.3 2) สถานภาพสมรสคู่ สัมพันธภาพในครอบครัว ระยะเวลาที่เป็นโรคเรื้อรัง 5-10 ปี และ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน (r = 0.259, 0.414, 0.131, 0.306) ส่วนอายุ สถานภาพสมรสหม้าย และระดับความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน (r = -0.181, -0.249, -0.284) 3) สัมพันธ์ภาพในครอบครัว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับความรุนแรงของโรคมีข้อจำกัดในการประกอบกิจกรรมเล็กน้อยถึงปานกลางเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำเนินชีวิต และระยะเวลาที่เป็นโรคเรื้อรัง 5-10 ปี มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน และใช้พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนได้ โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ร้อยละ 25.7

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยเป็นแนวทางให้บุคลากรในทีมสุขภาพวางแผนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนเกี่ยวกับสัมพันธภาพในครอบครัวความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อป้องกัน และดูแลภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง

คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า โรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ

 

Abstract


Objectives : To examine depression among elder adult with chronic disease in community, received population and social factors, and physical health factors.
Material and Methods : This descriptive research sample consisted of 256 older persons with chronic disease who lived in Lamphakchee community road, Nhonjok area, Bangkok. The sample was selected by multi-stage. Data collected from November to December 2012, using structured questionnaires of demographic socioeconomic variable, social activity, family relationship, ability of activity daily living, severity of disease, and the Thai Geriatric Depression Scale. The data were analyzed using descriptive statistics including: percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
Results : The percentage of the elderly with chronic disease who had severe depression scores was 66.4 and moderate depression score was 22.3. 2) depression stage of among elderly in community were positively correlated to marriage status, family relationship, long-term 5-10 years of chronic disease and ability of activity living (r=0.259,0.414,0.131,0.306).The other that: depression stage of among elderly in community were negatively correlated to age, divorce status, self care but limitation for severity of disease and depression stage (r=-0.181,-0.249,-0.284). 3) The positive correlation of family relationship, severity of disease lightly to moderated of activity were ability of activity living, long-term 5-10 years of chronic disease with depression of among elderly in community. The efficacy of prediction 25.7 percent.
Conclusions and suggestion : The findings suggest that the health care plan should focus on family relationship and daily activity living in order to prevent and provide care for older adults to reduce stress to elderly patients with chronic disease.

Keywords : depression chronic diseases and among elderly


Author Biographies

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

สิริกร สุธวัชณัฐชา, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

ปริมวิชญา อินต๊ะกัน, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

สายใจ ลิชนะเธียร, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

ศูนย์ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน 44 กรุงเทพมหานคร

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย