ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการฝากครรภ์ แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ปัญจภรณ์ ยะเกษม คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • สุมิตรา สิทธิฤทธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คำสำคัญ:

prenatal care, experience of registered nurses, pregnant teenagers

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการ ฝากครรภ์ แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Phenomenology) เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2554 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับ การสังเกตพฤติกรรมของพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการให้บริการฝากครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลของโคไลซ์ซี่ ผลการวิจัย พบว่าประสบการณ์ ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการฝากครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นประกอบด้วยประเด็นหลักจำนวน
3 ประเด็น ได้แก่ การพยาบาลแม่วัยรุ่นไม่ง่ายอย่างที่คิด การพยาบาลแม่วัยรุ่น การพยาบาลแม่วัยผู้ใหญ่ ความเหมือนที่แตกต่าง และการพยาบาลแม่วัยรุ่นอดีต ปัจจุบัน และอนาคตผลการวิจัยครั้งนี้นำไปสู่ การเข้าใจความหมาย ในประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการฝากครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวคิดซึ่งนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการ และเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยต่อไป

คำสำคัญ : การให้บริการฝากครรภ์  ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ  หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

 

Abstract


The purpose of this study was to describe the experiences of registered nurses in providing prenatal care for pregnant teenagers in two tertiary care hospitals in the Eastern Region. The descriptive phenomenological approach was implemented to collect and analyze data from a purposively selected sample of eight registered nurses who provided prenatal care for pregnant teenagers. In-depth interview and observation were used to collect data. The data collection and analysis occurred simultaneously in October and December 2011. Colaizzi’s method for phenomenological method was used. Guba and Lincoln’s (1985) criteria were applied to ensure trustworthiness. Three main themes emerged from the data analysis which include “providing prenatal care for pregnant teenagers is not easy”, “providing prenatal care for pregnant teenagers and adult pregnant women are similar but different”, and “providing prenatal care for pregnant teenagers in the past, at present, and in the future”. These findings of this study leads to a basic understanding of the experiences of registered nurses in providing prenatal care to pregnant
teenagers. This understanding is useful to develop health service concepts and provides basic information for further research.  

Keywords : prenatal care, experience of registered nurses,

pregnant teenagers

Author Biography

ปัญจภรณ์ ยะเกษม, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซ่า

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย