การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
คำสำคัญ:
Health program Overweightบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะดังนี้ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและการสร้างโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 133 คน โดยศึกษาของมูลโดยการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกายและพฤติกรรมสุขภาพ 2) การออกแบบโปรแกรมและคู่มือบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับหลัก 3 อ ของกระทรวงสาธารณสุขและแนวคิดการกำกับตนเองของแบนดูร่า โดยผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน 3)การทดลองโปรแกรมโดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 25 คน ตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1)คู่มือบันทึกพฤติกรรมสุขภาพและโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบวัด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำผลที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาพยาบาลมีอายุเฉลี่ย 19 ปี (= 2.32, S.D.=0.62) เพศหญิงจำนวน 129 คน เพศชายจำนวน 4 คน และจากการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้นพบว่านักศึกษาพยาบาลศาสตร์จำนวน 25 คนที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน และมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.72, S.D.=0.68)
2. โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแนวคิดพื้นฐานของโปรแกรมซึ่งใช้แนวคิด หลัก 3 อ ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ของกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย และแนวคิดการกำกับตนเองของแบนดูร่า โปรแกรมประกอบด้วย โปรแกรมที่ 1 สุขภาพดีด้วยความรู้ โปรแกรมที่ 2 พิชิตอ้วนด้วยกำลัง โปรแกรมที่ 3 อาหารสุขภาพและโปรแกรมที่ 4 สมาธิสร้างสรรค์ พิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.85
3. ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาพยาบาลที่เข้าโปรแกรมมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยลดลง(=68.85, S.D.= 13.01) กว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม(=64.88, S.D.= 13.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(24) =9.64, p <= .001) และมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าโปรแกรม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.91, S.D. = 0.60)
คำสำคัญ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ ภาวะน้ำหนักเกิน
Abstract
This research is research and development. The objective is to develop health promotion programs to reduce the weight of student nurses. College of Nursing Boromarajonani College of Nursing Suratthani are overweight. The research is the first three-term) 1) study and analysis of the underlying data and the creation of health promotion programs to reduce the weight of student nurses. Boromarajonani College of Nursing Suratthani are overweight. The first year nursing students at one of 133 people by the value of the initial health screening, including age, gender, body mass index and health behavior, 2) design software and manual recording healthy habits. The researchers built on three core concepts about the Ministry of Health and the concept of self-directed Bandura. Through consistent monitoring of content from qualified third persons 3) an experimental program using a sample taken from the sampling (Purposive sampling) number 25 was used in. The data was collected 1)Guide and health promotion programs 2) health behavior questionnaires which researchers used to measure the Department of Health. The results were analyzed using descriptive statistics. The frequency distribution of the average. The standard deviation and t test (t-test).
The results revealed that
1. Nursing students, average age 19 years (= 2.32, S.D.=0.62) were female, 129 male and four people from the health screening showed that nursing students of 25 people with a BMI exceeding standards. And healthy behaviors at a moderate level (= 2.72, S.D.=0.68)
2. Health developed the basic concept of the program, which consists of three main concepts of food, exercise and mood. Ministry of Health, Department of Health and the concept of self-directed Bandura. The program consists of 1) Healthy Knowledge program 2) Fat conquer by force program 3) Health Food programs 4) creative meditation programs. the consistency of content IOC 0.85
3. Subsequent to the program for health improvement. Students who enter the program have a lower average body weight (=68.85, S.D.= 13.01) than the previous program (=64.88, S.D.= 13.12)was statistically significant (t (24) = 9.64, p <=. 001) and after the intervention program. By combining a high level (= 3.91, S.D. = 0.60)
Keywords Health program Overweight