ความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้แต่ง

  • เกียรติกำจร กุศล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
  • ทัศน์ศรี เสมียนเพชร สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160

คำสำคัญ:

Problem-based Learning, Self-directed Learning, Nursing Students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาล 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า  
1)    คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่
ในระดับสูงปานกลาง (= 3.90, SD= .30)  และพบว่าด้านทักษะการศึกษาหาความรู้และการแก้ปัญหาสูงกว่าด้านอื่นๆ (= 4.15, SD= .46)  
2)    เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองโดยรวมหลังการจัด
การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -2.55, p<.05) และค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการมีมโนมติในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ ด้านความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ และด้านการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของตนเองหลังการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -4.56, p<.001 ; t = -3.06, p<.01 ; t = -2.60, p<.05)
ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองได้ ดังนั้นอาจารย์จึงควรสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาลต่อไป


คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract


The purposes of this research were to study the self-directed learning ability and compare effect of teaching using problem based learning on self-directed learning ability of nursing students.  A pretest / posttest quasi-experimental design was used. Research samples consisted of 67 third-year nursing students of the Institute of Nursing, Walailak University. A self-directed learning ability questionnaire instrument was used to investigate and as a test. Reliability of the instruments was at 0.91. The data were analyzed by mean, standard derivation, paired sample t-test, and content analysis. The results revealed that;
1)    The overall score of self-directed learning ability in nursing students was averagely at a high level (= 3.90, SD= .30); moreover , when each aspect of the ability showed that learning process and problem solving skill dimension was higher score than others (= 4.15, SD= .46).
2)    The overall mean score of self-directed learning ability was significantly higher than before applying problem-based learning (t = -2.55, p < .05). The mean score after problem-based learning in the dimensions of self concept as an effective learner, initiative and independence in learning and acceptance of responsibility for one’s own learning was significantly higher than before applying problem-based learning (t = -4.56, p <.001; t = -3.06, p < .01 ; t = -2.60, p < .050).
This research concluded that problem-based learning could development
self-directed learning ability and learning achievement of the nursing students. So instructor should be encouraged to apply the problem-based learning in the university.


Keywords : Problem-based Learning  Self-directed Learning  Nursing Students




Author Biographies

เกียรติกำจร กุศล, สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ทัศน์ศรี เสมียนเพชร, สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย