ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้

ผู้แต่ง

  • วนิดา สติประเสริฐ สาขาเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • พรนภา หอมสินธุ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

coaching, health behaviors, blood pressure patients with uncontrolled essential hypertension

บทคัดย่อ


บทคัดย่อ


การวิจัยเชิงทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ผลลัพธ์หลักในการศึกษาคือ พฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมความดันโลหิต ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การจัดการกับความเครียด การควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ และการมาตรวจตามนัด ผลลัพธ์รองคือ สัดส่วนของผู้ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์ประกันสุขภาพสาขาศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีแบ่งชั้นด้วยเพศและอายุ (Stratified randomization) จำนวนกลุ่มละ 10 คน การชี้แนะถูกจัดกระทำที่บ้านของผู้ป่วยโดยพยาบาลวิชาชีพสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และติดตามทางโทรศัพท์สัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา
4 สัปดาห์ โดยที่การชี้แนะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องประกอบด้วยสี่ขั้นตอนคือ การประเมินและวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วย การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามด้วยการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และขั้นตอนสุดท้ายคือการประเมินผล ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติที่ศูนย์บริการสุขภาพเดือนละครั้ง สัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ แมน-วิทนี่ ยู และสถิติไค – สแควร์
ผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างของข้อมูลพื้นฐานระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
หลังการทดลองพบว่า ผลต่างของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ .05 (กลุ่มทดลอง + 9.68, กลุ่มควบคุม -.23, Mann-Whitney U 7.0, z = -3.32,  p = < .01) และกลุ่มทดลองมีสัดส่วนผู้ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุมทางสถิติที่ระดับ ≤ .05 (กลุ่มทดลอง 70%, กลุ่มควบคุม 10%,
2 = 7.50,  p = .01) พยาบาลจึงควรนำรูปแบบการชี้แนะไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใน
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
คำสำคัญ :  การชี้แนะ พฤติกรรมสุขภาพ ความดันโลหิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
               ที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้

 

Abstract


This an experimental research aimed to examine the effects of coaching on health behaviors and blood pressure in uncontrolled essential hypertension. The primary
outcome was health behaviors; diet, exercise, taking medicine, stress management,
controlling of alcohol drinking and cigarette smoking and follow up. The secondary
outcome was the proportion of subjects who could control hypertension. The sample consisted of essential hypertension of unknown cause and uncontrolled hypertension patients in Health Insurance Centers, Si racha District, Chon buri Province during April to December 2014. Stratified randomization by age and sex was used to allocate
the samples. Ten subjects were assigned to each group. Coaching was manipulated at
patients’ home once per week for 6 weeks and telephone follow up for 4 weeks. Coaching was a continuing process consist of 4 steps; assessment and analyze problem, objective defining and planning, action and evaluation. The control group received routine health service once per month. Individual data and health behaviors of subjects were interviewed. Frequency, percentage, mean (M), standard deviation (SD), Mann - Whitney U test and Chi - square test were used for data analysis.    Results showed that there were no significant differences in the baseline measurement between study and control groups. Significant differences were found after intervention was initiated between groups in, health behaviors score (study group + 9.68 VS control group -.23, Mann - Whitney U 7.0, z = -3.32, p = < .01) and proportion of subject who could control hypertension (study group 70% VS control group 10%,2= 7.50, p = .01). These findings suggest that nurses should use coaching for health behavior change among uncontrolled hypertension patients.
Keywords :  coaching, health behaviors, blood pressure patients with uncontrolled
                  essential hypertension




Author Biographies

วนิดา สติประเสริฐ, สาขาเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ยุวดี ลีลัคนาวีระ, กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

พรนภา หอมสินธุ์, กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย