ผลของรูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาต่อความพร้อมในการเรียนรู้แบบนําตนเอง

ผู้แต่ง

  • วิบูลย์ลักษณ์ ปรียาวงศากุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี69/1 หมู่ 2 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000

คำสำคัญ:

Self-Directed Learning Readiness, Contemplative Education Process, Nursing Students, Student Development Model Activities

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักศึกษาพยาบาลก่อน และหลังการใช้รูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกระบวนการจิตตปัญญา ศึกษา  2) เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบ การพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษากับกลุ่มที่สอนตามปกติ  กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี จํานวน 60 คน  โดยวิธีสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วย  1)  เครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง (SDLR)  2)  เครื่องมือวัด ความสามารถแบบนำตนเอง  3)  คู่มือการพัฒนานักศึกษา  ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน และทดสอบค่าความเที่ยงโดยหาสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ s Alpha Coefficient)  ได้ค่าเท่ากับ .91  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าร้อยละ  ค่ามัธยฐาน  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติค่าที (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า :

                1. คะแนนความพร้อมในการเรียนรู้แบบนําตนเอง ของนักศึกษาพยาบาลที่ใช้รูปแบบกระบวนการ จิตตปัญญาศึกษาโดยรวมพบว่าสูงขึ้น  และสูงขึ้นทั้งด้านการจัดการตนเอง  ด้านความปรารถนาใน การเรียนรู้ และด้านการควบคุมตนเอง

                2. คะแนนความพร้อมในการเรียนรู้แบบนําตนเอง (SDLR) ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง หลังการใช้รูปแบบกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา  พบว่าสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ            ที่ระดับ .05

                3. คะแนนความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง (SDLR)  ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ใช้รูปแบบ พัฒนาด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา พบว่าสูงกว่าที่สอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05

Abstract

                The contemplative education process for a nursing student development model with activities contemplative education process enhances self-directed learning readiness and increases learning ability; yet it is rarely investigated its effects in undergraduate students. The purposes of this quasi-experimental study (Two groups  pre-test, post-test Design) were: 1) To compare the self-directed learning readiness (SDLR) among nursing students between before and after using the SDLR development model; 2) To compare the readiness of self-directed learning between the SDLR and the regular teaching process. The sample included 60 senior nursing students, equally assigned to control and experimental groups. They completed the SDLR scale, self- development learning ability form, and student development handbook. The internal consistency reliability of the SDLR was adequate (Conbrach’s alpha = .91). The mean,
standard deviation (SD), percentage, and t-test statistics were applied. The findings were:

                1) The SDLR scores on self-management, learning motivation, and self-control increased in
overall of nursing students (p < .05).

                2) The SDLR scores significantly increased after using the SDLR in an experimental group
(p < .05).

                3)  The SDLR scores in group using the SDLR process were significantly higher than the  group of regular teaching process (p < .05).

 

เผยแพร่แล้ว

2012-10-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย