ผลของโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและความพึงพอใจในการรับบริการของมารดากลุ่มเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • อำพันธ์ ศรีเรือง โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ศศิกานต์ กาละ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผกาวัลย์ หนูมาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นรานุช สัณฐิติการย์ โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

โปรแกรมสนับสนุนของพยาบาล , การป้องกันตกเลือดหลังคลอด , การสูญเสียเลือด , มารดาเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและความพึงพอใจในการรับบริการของมารดากลุ่มเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด  กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่คลอดทางช่องคลอดมีปัจจัยเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด มีจำนวน 60 ราย รับไว้ในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าการวิจัย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม - พฤศจิกายน 2566  โดยแบ่งเป็น กลุ่มควบคุม (30 ราย) และกลุ่มทดลอง (30 ราย) ดำเนินการในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแล้วเสร็จจึงดำเนินการในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลในการป้องกันตกเลือดหลังคลอด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วนคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ประกอบด้วย 1.1) เอกสารให้ความรู้เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด และ 1.2) สื่อโมเดลเรียนรู้การหดรัดตัวของมดลูก 2) เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลองคือ แบบบันทึกการคลึงมดลูกของมารดาหลังคลอด และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3.1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3.2) แบบประเมินความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด 3.3) แบบบันทึกปริมาณการสูญเสียเลือดทางช่องคลอด 2-8 ชั่วโมงแรก 3.4) แบบบันทึกปริมาณการสูญเสียเลือดทางช่องคลอดหลัง 8-24 ชั่วโมงแรก และ 3.5) แบบประเมินความพึงพอใจในการบริการ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติแมนวิทนี่ยูเทส ผลการวิจัยพบว่า

มารดากลุ่มเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลมีปริมาณการสูญเสียเลือดทางช่องคลอดระยะ 2 - 8 ชั่วโมง และระยะหลัง 8 - 24 ชั่วโมง น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.681, p-value < .001) และ (Z = -2.818, p-value < .001) ตามลำดับ และความพึงพอใจของมารดากลุ่มเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดที่ได้รับโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาล สามารถช่วยป้องกันตกเลือดของมารดาหลังคลอดกลุ่มเสี่ยง จึงควรนำไปใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอด

References

Anamai Data Center. (2022). Situation Analysis Maternal Mortality in Thailand. Retrieved February 20, 2023 from https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/ (in Thai)

Awatchanawong, R., & Boonyaporn, T. (2020). Effects of family involvement in a breastfeeding promotion program on family’s breastfeeding perceptions and postpartum mother’s perceptions of family support for breastfeeding. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 28(4), 39-48. (in Thai)

Chiablam, P., Sinsuksai, N., & Thananowan, N. (2021). Effects of breastfeeding promotion-father’s involvement program on 1-month exclusive breastfeeding and perceived father’s support among first-time mothers. Nursing Sciences Journal of Thailand, 40(4), 33-48. (in Thai)

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Hault, J. C., Rouse, D. J., & Spong, C. Y. (2023). Williams Obstetrics. (26thed.). New York: Mcgraw-Hill.

Eiamcharoen, T. (2017). Postpartum hemorrhage: significance of nurse’s roles in prevention. APHEIT Journal, 6(2), 146-157. (in Thai)

Hayibueraheng, Y., & Mea, S. (2019). The effects of using an innovation warning box to remind for uterine massage on the amount of postpartum blood loss within two hours after delivery, Bannangsata hospital. TUH Journal online, 4(3), 1-5. (in Thai)

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support. New Jersey: Prentice Hall.

Luangkwan, S., Tuphimai, B., Chomngam, S., & Loyden, T. (2021). Development of clinical nursing practice guidelines for preventing early postpartum hemorrhage from vaginal delivery at Buri Ram hospital. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 36(3), 617-629. (in Thai)

Maneechan, N., & Jamnam, U. (2017). Effectiveness of implementing clinical nursing practice guidelines for prevention of early postpartum hemorrhage at Ratchaburi Hospital. Region 11 Medical Journal, 31(1), 143-155.

Pinpo, S., & Wattananukulkiat, S. (2021). Development of Clinical Nursing Practice Guidelines to Prevent and Cure of the 2-24 Hours Postpartum Hemorrhage in Obstetrics Ward, Khonkaen Hospital. Paper Presented at the 22nd National Graduate Research Conference (Online Conference) March 25, 2021 at KhonKaen University Thailand, 134-147. (in Thai)

Pochana, W., Chaiwongsa, K., & Somchok, P. (2021). Development of the risk factor assessment and nursing practice guideline for prevention of early postpartum hemorrhage by knowledge management, Sawang Dandin Crown Prince Hospital. Research and Development Health System Journal, 14(2), 182-194. (in Thai)

Polit, D., & Beck, C. (2018). Essentials of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer.

Purimayata, L., Maneechotwong, N., & Laokhonkha, P. (2017). The effect of using a cold glove for uterine massage on the amount of postpartum blood loss and the top of uterine within two hours after delivery in Primigravida at Reginal Health Center 7 Khonkaen. Journal Regional Health Center 7 Khonkaen, 9(2), 19-30. (in Thai)

Saraban, K., Phuwongkrai, O., Limbupasiriporn, S., & Khotrworama, K. (2022). Development of clinical nursing practice guidelines to prevent of 2-24 hours postpartum hemorrhage in obstetrics ward, Nongkhai Hospital. Journal of Nongkhai Hospital, 1(1), 1-22. (in Thai)

Sriphachai, S. (2015). The Effects of Using an Innovation Doll to Remind for Uterine Massage on the Amount of Postpartum Blood Loss Within Two Hours after Delivery. The Master of Nursing Science in Advanced Midwifery, Faculty of Nursing, KhonKaen University. (in Thai)

Tavornsuk, H., Youngwanichsetha, S., & Kala, S. (2022). The effects of educative program using multimedia integrating relatives’ support on postpartum hemorrhage preventive behaviors in primiparous mothers. Nursing Journal of Ministry of Public Health, 32(3), 134-148. (in Thai)

The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists. (2020). Clinical Practice Guidelines: Guideline for Management of Postpartum Hemorrhage. Retrieved February 18, 2023 from http://www.rtcog.or.th/ home/wpContent/uploads/2020/09/OB63-020-Prevention-and-Management-ofPostpartum-emorrhage.pdf

World Health Organization [WHO]. (2022). WHO Postpartum Hemorrhage (PPH) Summit. Retrieved November 18, 2023 from https://www.who.int/publications/m/item/who-postpartum-hemorrhage-(pph)-summit

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20