การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : การศึกษากรณีชุมชน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วิยะดา รัตนสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กฤติพิชญ์ ฐิติพิชญานันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา (Case Study Qualitative Research)
มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน และศึกษารูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน ดำเนินการ ศึกษา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง เดือนกันยายน 2563  ประชากรในการศึกษาครั้งนี้  คือ กลุ่มผู้นำชุมชนที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน 4 มิติ คือ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม จากทุนทางสังคม ที่เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล ได้แก่  คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ  อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ  กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เลือกตัวอย่างเข้ากลุ่มแบบเจาะจง จำนวน 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชนที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 4 มิติ  ประกอบด้วย    แนวคำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  และ แนวคำถามเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนารูปแบบทุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis)

ผลการวิจัย  พบว่า  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต     ของผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ ภาวะผู้นำ การเสริมสร้างแรงจูงใจ การสร้างทีมงาน        การเพิ่มศักยภาพของแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมด้านสังคม  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสุขภาพ การจัดสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  และการประสานภาคีเครือข่าย  รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพ

ชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน มี 6 องค์ประกอบ แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะขยายผล  และขยาย ผล และระยะเกิดความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้มีการดำเนินการครบทุกองค์ประกอบ 2 ระยะ สำหรับระยะที่ 3 อยู่ในช่วงระหว่างการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ ผู้นำชุมชนควรส่งเสริมการใช้กระบวนการพัฒนาทุนทางสังคมในระยะที่ 3 ให้มีความสมบูรณ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

References

Phayao Provincial Public Health Office,Basic Information Dong Suwan Subdistrict Dok Khamtai District, Phayao Province; Information System. 2018.[Online] Website : http://www.pyomoph.go.th/index.php (In Thai)

Intria, M.Social Capital. Narkbhutparitat Journal. 2017;9(2):14-25. (In Thai)

Sasuad, K. Factors Affecting the Quality of Life of the Elderly in the Eastern Province. NRRU. Community Research Journal. 2017;11(2)

:21-38. (In Thai)

Klinsuwan, P. Correlation between Social Capitals, Cultural Capitals and Healthy Aging

Promotion. Liberal Arts Review. 2018;13(25)

:1-12. (In Thai)

Tarkulwaranont, P.(2014).Social Processes for Thai Ageing Society.[Online] Website : https://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads /2014/06/pornchai- 2014.pdf

Chamnankij, B.The Application of Social Capital Against Management of Natural Resources: A Case Study of Banhoaisaphan-samakkhi Community Forestry, Nongrong Subdistrict, Phanomthuan District, Kanchanaburi Province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2014;25(2):24-36. (In Thai)

Cohen, J.M. & Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University;1981.

World Health Organization. International Classification of Functioning, Disability, and Health.Geneva; 2001.

Cohen , J.M. & Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee enter for International Studies , Cornell University;1981.

Chunsong, S et al.The Development of Social Capital to Establish a Strong Community. VRU Research and Development. Journal Humanities and Social Science.2015;10(3):273-283. (In Thai)

Pattana, P. Quality of Life among those Attended Elderly School, Saraburi Province. An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree of Master of Public Health, Faculty of Public Health Thammasat University;2017. (In Thai)

Puraya, A & Nuntaboot, K. Community Capacity in Elderly Care. Journal of Nursing and Health Care. 2019;37(1) :22-31. (In Thai)

Thipsungwan, K., Sribenchamas, N and Lamluk, P. Effects of the Development Competency Program of Volunteer for Taking Care of the Elderly in Community Humanities and Social Sciences. Journal of Pibulsongkram Rajabhat University. 2018;12(1):275-291. (In Thai) 14. Sricharumedhiyan, C & Vaddhano, T. Leadership and Community Development. Journal of MCU Peace Studies. 2017; Special Issues, 6(2):527-538.(In Thai)

Noknoi, C & Boripunt, W.The Quality of Life of Elders in Songkhla Province. Princess of Naradhiwas University Journal. 2017; 9(3):94-105.(In Thai)

Phaetlakfa, C., et al. Participation of Urban Community in Developing Arts and Culture Learning Center : Case Study, Lad Prao Community. Culture and Arts Journal Srinakharinwirot University. 2013;14(2):1-23. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30