ผลของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าและปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • ผกาวัลย์ หนูมาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์
  • ศศิกานต์ กาละ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์
  • สุรีย์พร กฤษเจริญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์

คำสำคัญ:

การนวดกดจุดสะท้อนเท้า, ระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า, ปริมาณน้ำนม, มารดาหลังคลอด, หออภิบาลทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทางเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบ เทียบระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า และปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด คัดเลือกจากมารดาหลังคลอดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด และเข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 50 คน ดำเนิน การสุ่มเข้ากลุ่มโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง (n = 25) ได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุม (n = 25) ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ส่วน ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง คือ นักวิจัย ผู้ทำหน้าที่นวดกดจุดสะท้อนเท้าให้มารดา 2) เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลอง คือ แบบประเมินทักษะการบีบน้ำนมด้วยมือ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3.1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3.2) แบบบันทึกข้อมูลการคลอด 3.3) แบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า (ชั่วโมง) และ 3.4) แบบบันทึกปริมาณน้ำนม (มิลลิลิตร)

เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะการบีบน้ำนมด้วยมือ แบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า และแบบบันทึกปริมาณน้ำนมได้ผ่านการตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ค่า

ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าวเท่ากับ 1.00 และได้ศึกษานำร่องทดลองใช้เครื่องมือในกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน 10 คน ตรวจหาความเที่ยงของเครื่องมือ โดยแบบประเมินทักษะการบีบน้ำนมด้วยมือ ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .83 แบบบันทึกปริมาณน้ำนม ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .90

          ผลการวิจัย พบว่า มารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดกลุ่มทดลอง (M = 46.80, S.D. = 15.40) มีระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มควบคุม (M = 85.27, S.D. = 20.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.59, p < .001) และ มารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดกลุ่มทดลอง (M = 8.10 , S.D. = 6.30) มีปริมาณน้ำนมในวันที่ 1 (24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 3.09, S.D. = 4.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.17, p < .01) และกลุ่มทดลอง (M = 15.92, S.D. = 8.82) มีปริมาณน้ำนมในวันที่ 2 (24-48 ชั่วโมงหลังคลอด) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 4.03, S.D. = 5.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.79, p < .001)

สรุป จากผลการศึกษา  แสดงให้เห็นว่า การนวดกดจุดสะท้อนเท้าเป็นวิธีการส่งเสริมระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าและปริมาณน้ำนมที่มีประสิทธิภาพสำหรับมารดาหลังคลอดระยะแรกที่มีทารกป่วย ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรประยุกต์ใช้เป็นทางเลือกหนึ่ง ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มมารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด

References

Department of Health. Aim for 2025 at Least 50% of Thai Children will be Exclusive Breastfeeding [Internet]. 2021 [cited 2021 Jul 8]. Available from:https://hp.anamai.moph.go.th/ webupload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2564-F/IDC1_7/opdc_2564_IDC1-7_28.pdf. (in Thai)

Thailand MICS. Multiple Indicator Cluster Survey 2019 [Internet]. 2020 [cited 2021 May 20]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20Cluster%20Survey%202019.pdf (in Thai)

Thai Health. The Sick Babies Need to be Breastfeeding to Boost their Immunity [Internet]. 2014 [cited 2021 May 20]. Available from:https://www.thaihealth.or.th/Content/23422-20.html. (in Thai)

Kaewvichien S, Thavonvattana S, Junmast W, Sangtun S, Thaor S. The Development of Breastfeeding Support Model for Premature Infants with a High Risk of having Critical Condition at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Thai J Cardio-Thorac Nurs 2019;30(2):141-158. (in Thai)

Lawrence RA, Lawrence RM. Breastfeeding: a Guide for the Medical Profession. 8th ed. Philadelphia, PA: Elsevier; 2016.

Kala S, Khaonark R. Breastfeeding in Postpartum Mothers whose Sick Babies. Songklanagarind J Nurs 2016;36(Suppl):196-208. (in Thai)

Cherian S. Effectiveness of Breast Massage on the Volume of Expressed Breast Milk among Mothers of Neonates Admitted in NICU in Selected Hospitals, Mangaluru. Asian J Nurs Educ Res 2019;9(1):135-139.

Navawong T, Thongpeng P, Ambumrung P, Thiencharoen M. A Comparison of the Effect of Breast Massage on Nursing Behavior by Nursing Staff, Husband and Woman, Postpartum Self-Masturbation on Lactation and Maternal Postpartum Stress. The 4th National Breastfeeding Conference; 5-7th June 2013; Miracle Grand Convention Hotel. Bangkok; 2013. p.118. (in Thai)

Auaareekul K, Sangperm P, Payakkaraung S. The Effects of a Breast Milk Establishing Program on Milk Volume and Time of Sufficient Milk Supply among Sesarean Section Mothers of Premature Infants. Nurs Sci J Thai 2018;36(3):71-82. (in Thai)

Mirzaie P, Mohammad-Alizadeh-Charandabib S, Goljarianc S, Mirghafourvandd M, Hoseini MB. The Effect of Foot Reflexology Massage on Breast Milk Volume of Mothers with Premature Infants: a Randomized Controlled Trial. Eur J Integr Med 2018;17:72–78.

Mohammadpour A, Valiani M, Sadeghnia A, Talakoub S. Investigating the Effect of Reflexology on the Breast Milk Volume of Preterm Infants' Mothers. IJNMR 2018;23(5):371-375.

Lu P, Ye Z-Q, Qiu J, Wang X-Y, Zheng J-J. Acupoint-tuina Therapy Promotes Lactation in Postpartum Women with Insufficient Milk Production who Underwent Caesarean Sections. Med 2019;98(35):1-8.

Fazilla TE, Tjipta GD, Ali M, Sianturi P. Domperidone and Maternal Milk Volume in Mothers of Premature Newborns. Paediatr Indones 2017;57(1):17-22.

Tuntratuang K. Effectiveness Comparison between Domperidone and Galactagogue on Stimulating Milk of Maternal Postpartum with Caesarean Section. UDHHOSMJ 2017;25(2):130-135. (in Thai)

Abdou RM, Fathey M. Evaluation of Early Postpartum Fenugreek Supple-Mentation on Expressed Breast Milk Volume and Prolactin Levels Variation. Gaz Egypt Paediatr Assoc 2018;66(3):57-60.

Chaicholsup A, Wipatawat B, Thongplu, Tonlom-umphai A. Foot Reflexology. 2nd ed. Nonthaburi: we indy design; 2018. (in Thai)

Sangkhakul P. Foot Massage for Health. Songkhla: Thai Medical Health School; 2020. (in Thai)

Fritz S, Luke F, editor. Mosby's Fundamentals of Therapeutic Massage. 7thed. Michigan: Mosby; 2020.19. Kelly NM, Smilowitz JT, Cagney O, Flannery RL, Tribe RM. Delayed Onset of Lactogenesis and Reduced Breastfeeding Frequency in Mothers who give Birth by Caesarean Section. Proc Nutr Soc 2020;79(2):e445.doi: 10.1017/S0029665120003936.

Khotsang K, Sangin S, Chuahorm U. The Effects of Lactational Program on Milk Secretion Time, Onset of Lactation and Breastfeeding Self-Efficacy in Mothers after Cesarean Section. JFONUBUU 2016;24(1):13-26. (in Thai)

Aksua S, Karaca PP. The Effect of Reflexology on Lactation in Women who had Cesarean Section: a Randomized Controlled Pilot Study. J Complement Med Res 2021;28:336–343.

Prongkasem K, Xuto P, Chaloumsuk N. Effects of Foot Reflexology on Labor Pain and Satisfaction among Adolescent Parturients. Nurs J 2020;47(2):216-226. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย