ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ อุดรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิราวรรณ์ คำหวาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จตุพร จำรองเพ็ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรพันธ์ สืบเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธนพล บรรดาศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก
  • สุมาลี กิจพฤกษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อใหญ่

คำสำคัญ:

ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน

บทคัดย่อ

ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกมิติหนึ่งของการดูแลภาวะสุขภาพแบบองค์รวม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 92 คน       โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 8 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง  3) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง  4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล  5) แบบวัดภาระของผู้ดูแล 6) แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของผู้ดูแล 7) แบบประเมินความสามารถ      ในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และ 8) แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแล ซึ่งแบบประเมินในส่วนที่ 3, 4, 5, 6, และ 8 มีค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .95, .96, .97, .90, และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนมีความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (Mean=81.88, S.D.=7.69) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล (r = .711, p < .01) ภาระของผู้ดูแล

(r = -.663, p < .01) การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของผู้ดูแล (r = .566, p < .01) สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (r = .367, p < .01) และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (r = .336, p < .01)

สรุป การศึกษาครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน ซึ่งพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญาณของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมผู้ดูแลด้านการสนับสนุนทางสังคม การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สัมพันธภาพกับผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และตระหนักถึงการรับรู้ภาระของผู้ดูแล

References

Department of Older Persons. Statistics of the elderly 77 provinces in Thailand data is presented as of December 31, 2020 [online]. 2020 [Cited 2021/7/5]. Available from:

https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335 (in Thai)

Chen, M., Chen, K., and Chu, T. Caregiver Burden, Health Status, and Learned Resourcefulness of Older Caregivers. West J Nurs Res, 2015; 37(6): 767-80.

Chayawatto, C. Depression in the Caregivers of Stroke Patients. Region 4-5 Medical Journal, 2016; 35(1): 14-27. (in Thai)

Sihapark, S., Chuengsatiansup, K., and Tengrang, k. The Effect and Caregiving Burden of Older Person in Long-term Care Based on Thai Culture. Nonthaburi: Health Systems Research Institute, 2014. (in Thai)

Lekwong, S., Lawang, W., and Rattanagreethakul, S. Factors Affecting the Spiritual Well-being among Family Caregivers of Persons with Physical Disability. Journal of Phrapokklao Nursing College, 2019; 30(1): 102-112. (in Thai)

Chavapattanakul, P., Wongkumsin, T., and Kongkasuwan, R. The Relationship between Resilience Quotient, Social Support, and Spiritual Well-being of Caregivers of Patients with Hemiplegia. Siriraj Med J, 2020; 72(3): 245-52.

Mahiphun, L., Nabkasorn, C., and Vatanasin, D. Factors Related to Spiritual Well-being among Caregivers of Schizophrenic Patients. Journal of Public Health Nursing, 2017; 31(2): 29-42. (in Thai)

Rafati, F., Mashayekhi, F., Dastyar, N. Caregiver Burden and Spiritual Well-being in Caregivers of Hemodialysis Patients. J Relig Health, 2019; 59(6): 3084–96.

Promkeawngam, S. & Namwong, A. The Spiritual Well-being of Community-dwelling Thai Older People with Chronic Illness. Journal of Nursing and Health Care, 2017; 35(3): 204-13. (in Thai)

Lazarus, R. S. and Folkman, S. Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer, 1984.

Boston, P. H. and Mount, B. M. The Caregiver’s Perspective on Existential and Spiritual Distress in Palliative Care. J Pain Symptom Manage, 2006; 32(1): 13-26.

Hanh, P. T., Jullamate, P., and Piphatvanitcha, N. Factors Related to Caregiver Burden among Family Caregivers of Older Adults with Stroke in Hai Duong, Vietnam. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2017; 4(3): 45-62. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. G* Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 2007; 39(2): 175-91.

Tirapaiwong, P. Patient-caregiver Relationship and Caregiver Burden of Family Member Caregivers of Patients with Stroke. Master Thesis in Nursing. Bangkok: Mahidol University, 1997. (in Thai)

Imote, P., Nimitarnun, N., Chomson, S., and Hematorn, C. Influencing Factors of Home Care Behaviors by Family Caregivers for Stroke Patients. Christian University Journal, 2009; 15(2): 130-41. (in Thai)

Toonsiri, C., Sunsern, R., and Lawang, W. Development of the Burden Interview for Caregivers of Patients with Chronic Illness. Journal of Nursing and Education, 2011; 4(1): 62-75. (in Thai)

Jitapunkul, S. Principles of Geriatric Medicine. Bangkok: Chulalongkorn University, 2001. (in Thai)

Cassidy, T. Benefit Finding through Caring: The Cancer Caregiver Experience. Psychology & Health, 2013; 28(3): 250-66.

Siritipakorn, P. & Muangpaisan, W. Associated Factors of Caregiver Burden among Family Caregivers of Dementia Patients in a Geriatric Clinic, Siriraj Hospital. Journal of Nursing Science & Health, 2015; 38(2): 54-64. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย