การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิมพ์รัตน์ บุณยะภักดิ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • เฉลิมพรรณ์ เมฆลอย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • รัชนี สรรเสริญ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อรนลิน สิงขรณ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

สุขภาพจิตวัยรุ่น, ระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบไปใช้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่   ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ความต้องการและความจำเป็นการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารสถาบัน การศึกษา จำนวน 12 คน บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน นักศึกษาที่เคยใช้บริการดูแลสุขภาพจิต จำนวน 25 คน ญาติของนักศึกษาที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต จำนวน 3 คน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบฯ จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาระยะที่ 1 ร่วมกับทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและผ่านการพิจารณาร่างระบบฯ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน โดยมีการปรับปรุงร่างระบบฯ จำนวน 3 รอบ จนได้ระบบฯ ที่สมบูรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยรวมเท่ากับ 0.95 (0.67-1.00) ระยะที่ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบฯ ไปใช้ จากการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน จำนวน 32 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยรวมเท่ากับ 0.87 (0.67-1.00) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และงานวิจัยนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ผลการวิจัย พบว่า ระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) โครงสร้าง แบ่งเป็น ระดับสถาบันการศึกษา ได้แก่ ส่วนพัฒนานักศึกษาที่ต้องกำหนดหน่วยงานย่อยในการดูแลงานสุขภาพจิตของนักศึกษาให้ชัดเจน หน่วยงานที่ให้การดูแลบำบัดรักษาทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เช่น โรงพยาบาล คลินิกให้การปรึกษา กับ ระดับของสำนักวิชา/คณะ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา หรือบุคลากรที่ดูแลงานทางด้านสุขภาพจิต 2) กระบวนการดูแลแบบ ACT-C  (A: Approach, C: Care, T: Treat, C: Continue) ซึ่งใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องครอบคลุมนักศึกษากลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหา นำไปสู่ 3) ผลลัพธ์ของการดูแล คือนักศึกษากลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงไม่พัฒนาป่วยเป็นโรคทางจิตเวช และกลุ่มที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชได้รับการช่วยเหลือดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สำหรับความเป็นไปได้ในการนำระบบไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งภาพรวม (Mean =4.51, S.D.=0.24) และรายด้าน 1) ประโยชน์ (Mean =4.78, S.D.=0.07) 2) การนำไปใช้ (Mean =4.42, S.D.=0.18 และ 3) ความเหมาะสม (Mean =4.39, S.D.=0.20)

สรุป พยาบาลจิตเวช ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำระบบดังกล่าวไปทดลองใช้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตสำหรับนักศึกษาให้ได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องกับบริบทของแต่ละสถาบันการศึกษาได้

References

REFERENCES

World Health Organization. Depression [online]. 2021 [cited 2021/9/13]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression

World Health Organization. Adolescent Mental Health [online]. 2020 [cited 2020/12/10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health

Department of Mental Health. E-report [online]. [cited 2020/5/1]. Available from: https://www.dmh.go.th/report/datacenter/hdc/reds.asp (in Thai)

Bruffaerts R, Mortier P, Kiekens G, Auerbach RP, Cuijpers P, Demyttenaere K, Green JG, Nock MK, Kessler RC. Mental Health Problems in College Freshmen: Prevalence and Academic Functioning. Journal of Affective Disorders. 2018; 225: 97-103.

Mofatteh M. Risk Factors Associated with Stress, Anxiety, and Depression among University Undergraduate Students. AIMS Public Health. 2020; 8(1): 36-65.

Sheldon E, Simmonds-Buckley M, Bone C, Mascarenhas T, Chan N, Wincott M, et al. Prevalence and Risk Factors for Mental Health Problems in University Undergraduate Students: A Systematic Review with Meta-analysis. Journal of Affective Disorders. 2021;287: 282-292.

Hilliard, R. C., Watson, J. C., & Zizzi, S. J. Stigma, Attitudes, and Intentions to Seek Mental Health Services in College Student-Athletes. Journal of American College hHealth. 2020; 1-10.

Ebert, David D., et al. Barriers of Mental Health Treatment Utilization among First-Year College Students: First Cross-National Results from the WHO World Mental Health International College Student Initiative. International journal of Methods in Psychiatric Research. 2019;28(2): e1782. doi:10.1002/mpr.1782

Nash, Sara, et al. University Students’ Perceived Need for Mental Health Services: A Study of Variables Related to not Seeking Help. Psychological Services 2017; 14(4):502.

Rith-Najarian, Leslie R., Maya M. Boustani, and Bruce F. Chorpita. A Systematic Review of Prevention Programs Targeting Depression, Anxiety, and Stress in University Students. Journal of Affective Disorders. 2019; 257: 568-584.

Duffy, Anne, et al. Mental Health Care for University Students: a Way Forward? The Lancet Psychiatry. 2019; 6(11): 885-887.

Donabedian A. Quality Assessment and Monitoring. Evaluation & the Health Professions. 1983; 6(3): 363-75.

Chorpita, B.F., and Eric L. D. Coordinated strategic action: Aspiring to wisdom in mental health service systems. Clinical Psychology: Science and Practice. 2018; 25(4): e12264.

Hataiyusuk S., Seree, P. & Bosagaranut, K. Attitude and Motivation towards Mental Health Work in Participants of Mahidol Friend Project, Thailand. Thai Journal of Public Health. 2020; 50(2): 226-240. (in Thai)

Ballard K. Inclusion, paradigms, power and participation. Towards Inclusive Schools? Routledge. 2018: 1-14.

Arango, C., et al. Preventive Strategies for Mental Health. The Lancet Psychiatry. 2018; 5(7): 591-604.

McGorry, P.D., & Mei, C. Early Intervention in Youth Mental Health: Progress and Future Directions. Evidence-Based Mental Health. 2018; 21(4): 182-184.

Langevin, R., Marshall, C., & Kingsland, E. Intergenerational Cycles of Maltreatment: A Scoping Review of Psychosocial Risk and Protective Factors. Trauma, Violence, & Abuse. 2019; 1524838019870917.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29