การพัฒนาหุ่นจำลองการตรวจภายในเพื่อการประเมินการเปิดขยายของปากมดลูก และความบางของปากมดลูก
คำสำคัญ:
หุ่นจำลองการตรวจภายใน, การประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อพัฒนาหุ่นจำลองการตรวจภายในประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก ดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างหุ่นจำลองการตรวจภายในสำหรับการประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก 2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหุ่นจำลองการตรวจภายในสำหรับการประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก และ3) การประเมินประสิทธิภาพของหุ่นจำลองและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหุ่นจำลองหุ่นการตรวจภายใน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ หุ่นจำลองการตรวจภายในเพื่อประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก แบบประเมินประสิทธิภาพของหุ่นจำลอง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .62 และ .65 และหาความเที่ยงของแบบประเมินคุณภาพหุ่นจำลอง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน โดยการทดสอบซ้ำได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.72 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
หุ่นจำลองการตรวจภายในเพื่อประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก ซึ่งมีโครงสร้างทำด้วยยางซิลิโคน และระบบกลไกอัตโนมัติในการเปิดขยายความกว้างของปากมดลูก เมื่อนำหุ่นจำลองการตรวจภายในที่พัฒนาขึ้น มาทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพพบว่า ในระดับดี (M=2.66, SD=.30) และความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองการตรวจภายในที่พัฒนาขึ้น ในระดับมาก (M=4.45, SD=.43) แต่ยังควรเพิ่มส่วนประกอบภายในให้มีลักษณะเหมือนของจริง
การใช้หุ่นจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี จึงควรมีการผลิตสื่อประเภทนี้เพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้มากขึ้น
References
Daungrat, B., Yantarapakon, A., Jirasinthipok, T., Sayorwan, W., Ratanawiboolsook, N., & Saleepang, N. (2009). Development of Latex Arm Model for Suturing Practice. Journal of Public Health and Development, 7(1), 47-60. (in Thai).
Nantaphan, B. (2011). A Construction of Natural Rubber Model of Cow , s Reproductive System with Electronic Circuit for Artificial Insemination Training for Animal Science Student. Master of Education (Educational Techonology). Major Field: Educational Technology, Graduate School of Kasetsart University. (in Thai).
Office of the Vocational Education Commission. (2011). Mission and Policy. Bankok: Office of the Vocational Education Commission. (in Thai).
Phengsawat, W. (2003). Classroom Action Research. Bankok: Suwerasan. (In Thai).
Phromwong, C. (2011). Elementary Teaching Series Documents. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Rattanawiboonsok, N. (2012). The Effects of Using a Blood Collection Dummy for Students of Pathology Clinics in 1st Year. Master of Education (Educational Technology). Major Field: Educational Technology, Faculty of Graduate Studies Ramkhamhaeng University. (in Thai).
Thailand Nursing and Midwifery Council, (1997). Nursing and Midwifery Profession. (2nd ed). Bangkok. (in Thai).
Undergraduate Qualifications Standards Nursing Sciences. (2009). Attachment to the Announcement Ministry of Education in the Government Gazette. volume 127, Special Part 3 Ngor, page 43, announced on the 16th November. (in Thai).
Yamkasikorn, M. (2007). How to Use Efficiency Criterion in Media Research and Development: The Difference between 90/90 Standard and E1/E2. Journal of Education, 19(1), 1-16. (in Thai).
Yimyam, S., & Karnasut, S. (2013). Developing Breast Model for Teaching Breastfeeding. Nursing Journal, 40(4), 58-68. (in Thai).
Yimyam, S., Sansiriphun, N., & Chalumsuk, N. (2018). Developing a Vaginal Exam Simulation Box for Labour Progression Assessment Training. Nursing Journal, 45(3), 83-96. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.