ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ภายใต้สถานการณ์ COVID 19
คำสำคัญ:
ผลลัพธ์การเรียนรู้, การเรียนแบบผสมผสาน, ฝึกปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
วิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ของกลุ่มที่ฝึกปฏิบัติแบบผสมผสานกับกลุ่มที่ฝึกปฏิบัติตามปกติ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 โดยกลุ่มทดลอง ได้รับการจัดการฝึกปฏิบัติแบบผสมผสาน จำนวน 31 คน กลุ่มควบคุม ได้รับการจัดการฝึกปฏิบัติแบบปกติ จำนวน 28 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 7 ขั้นตอน และ 2) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้นักศึกษาพยาบาลตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โดยลักษณะเป็นแบบประเมิน Rubric Score แบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของกลุ่มฝึกปฏิบัติแบบผสมผสานกับกลุ่มฝึกปฏิบัติตามปกติ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 มีความแตกต่างกันในด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและสารสนเทศ ดังนั้นควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นที่มีข้อจำกัดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาต่อไป
References
Assessment work. (2017). Graduate Quality Report Academic Year. Ratchaburi: Boromara -jonani College of Nursing, Chakriraj.
Bangthamai, P., Srisomphan, K., Somnukprasert, W. & Weerawatanodom, N. (2020). Effects of Blended Learning and Childbirth Delivery Simulation Based Learning on Academic Achievement, Satisfaction and The Students’ Opinions Towards Teaching by Reflective Thinking of Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing Nonthaburi. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(3), 350-591 (In Thai)
Bonk, C. J. & Graham, C. R. (2004). Handbook of Blended Learning: Global Perspectives. San Francisco: Pfeiffer Publishing.
Cheewakasemsuk, A. (2021). “Nursing Teaching and Learning Management with Blended Learning in New Normal Era”. Journal of Health and Nursing Research, 37(1), 25-37. (In Thai)
Jaroensuk, S., Pladleng, A., Wongratanarak, W., Chittayanun, K. & Sueapoomy, N. (2016). The Model of Assessment for Learning Development based on Thai Qualification Framework for Bachelor of Nursing Science, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 28-43. (In Thai)
Khamkong, M. & Chaikongkiat, P. (2017). High-Fidelity Simulation-Based Learning: A Method to Develop Nursing Competency. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Special Edition), 332-344. (In Thai)
Knowles, M. S. (1978). The Adult Learner: A Neglected Species (2nded.). Houston: Gulf.
Saenprasarn, C., Puapairoj, V. & Chaiphibalsarisdi, P. (2015). Effects of Constructivism Approach of Teaching and Learning on a Course of Nursing Process and Health Assessment.Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 26(1), 149-164. (In Thai)
Smaldino, S. E. (2012). Instructional Technology and Media for Learning. (10th Edition). New Jersey: Pearson Merrill/prentice hall.
Wayo, W., Charoennukul, A., Kankaynat, C. & Konyai, J. (2020). Online Learning Under the COV-Epidemic: Concepts and Applications of Teaching and Learning Management, Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(3), 285-298. (In Thai)
Zheng, L. (2015). A systematic literature review of design-based research from 2004 to 2013. Journal of Computers in Education, 2(4), 399-420.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.