ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในกลุ่มนักศึกษา ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยนี้มีจำนวนทั้งหมด 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 22 คน กลุ่มผู้ปกครองของนักศึกษาผู้ให้ข้อมูล จำนวน 21 คน กลุ่มอาจารย์ 4 คน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของนักศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาการและการติดต่อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการ นักศึกษามีการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด การเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศในพื้นที่น้อย เนื่องจากนักศึกษามีความเขินอายและไม่เปิดเผยข้อมูลของตนเองต่อผู้ให้บริการ 3) ด้านทักษะการสื่อสาร เพื่อน คือบุคคลที่นักศึกษาสื่อสารเกี่ยวกับการทีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยมากที่สุด และไม่พบการสื่อสารเกี่ยวกับการทีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยกับบุคคลในครอบครัว 4) ด้านการจัดการตนเอง นักศึกษาเน้นการจัดการตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยกล่มที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กำหนดเป้าหมายต่างจากกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์ คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์ 5) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ยังพบการเชื่อข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งนำไปปฏิบัติตามโดยไม่ผ่านการตรวจสอบข้อมูล และ 6) ด้านการตัดสินใจ นักศึกษากลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์ตัดสินใจเลือกปฏิบัติการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัยเป็นหลัก ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลือกที่จะไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นอันดับแรก
ในช่องทางอื่น ๆ ลดการสื่อสารแบบเปิดเผยตัวตนของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไปตลอดชีวิต
References
Buarod, T., & Thongnopakun S. (2019). Sexual Media Literacy and Preventive Behaviors about Sexually Transmitted Diseases among Youth in University Students Chon Buri Province, Thailand. Disease Control Journal, 45(4), 402-12. (in Thai).
Bureau of AIDS, TB and STIs. (2010). Guidelines for the Development of Adolescent Clinics Friendly in the Care of Sexually Transmitted Diseases. (In Thai)
Bureau of Epidemiology, Department of Disease. Control, Ministry of Public Health. (2019). Disease Surveillance Report System 506. Retrieved September 30, 2019, from http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php
Bureau of Epidemiology, Department of Disease. Control, Ministry of Public Health. (2011). Situation of AIDS patients in 2011. Retrieved September 30, 2019, from http://www. Aidsthai. org/
Chaimano, M., & Ongkasing, C. (2018). A Study of Sexuality of Teenage Pregnancy in School. Journal of Education Thaksin University, 18(1), 65-76. (In Thai)
Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). A Guide to Raising Literacy of HIV and STDs. (In Thai)
Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2021). Prevalence of 5 Major Sexually Transmitted Diseases in Thailand in 2009-2020. (In Thai)
Hohmah, N. (2018). Health Literacy on Unwanted Pregnancy Prevention for Female Students in the Faculty of Education Yala Rajabhat University. Faculty of Education, Yala Rajabhat University. (In Thai)
Kaewkungwal, S. (2006). Psychology of Life Development of All Ages, Volume 2: Adolescence-Elderly Age, (9th ed.). Bangkok: Thammasat University. (In Thai)
Kownaklai, J., & Rujkorakarn, D. (2018). Unsafe Sexual Behavior among People Living with HIV/AIDS and Methods to Avoid Unsafe Sexual Intercourse. Journal of Nursing and Health Care, 36(4), 195-203. (In Thai)
Lertvicha, P. (2009). Brain Based-Learning. Bureau of Academic Affairs and Education Standards. (In Thai)
Muanphetch, C., Maharachapong, N., & Abdullakasim, P. (2020). Sexual Media Literacy and Sexual Behaviors among Adolescents in Thailand. Journal of Health Science Research, 14(2), 23-33. (in Thai)
Ngomsangad, Y., Srisuriyawet, R., & Homsin, P. (2019). Factors Influencing Health Literacy Related Pregnancy Prevention among Female Adolescent Students in Si Sa Ket Province. The Public Health Journal of Burapha University, 14(2), 37-51. (in Thai)
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: a Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies Into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-67.
Seedaket, S., & Chotchai, T. (2021). Health Literacy of School-Age Pregnancy Prevention and Sexual Intercourse among High School Students in Khon Kaen Province. Journal of Health and Nursing Research, 37(1), 99-111. (In Thai)
Srimeechai, J., Rutchanagul, P., & Kummabutr, J. (2018). The Sexual and Reproductive Healthcare Behaviors of University Students Engaging in Virtual Marital Relationships. Journal of Boromarajonani College of Nursing, 34(3), 43-54. (In Thai)
Standard Report Group. KPI of Maternal and Child Health. (2019). Health Data Center (HDC), Ministry of Public Health. Retrieved October 30, 2019, from https://hdcservice.moph.go.th /hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5
United Nations Children's Fund (Unicef), Ministry of education in Thailand. (2016). Review of comprehensive sexuality education in Thailand. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.