การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคลมปะกังด้วยวิธีการนวดราชสำนัก ร่วมกับการประคบสมุนไพร กับ วิธีการพอกยาสมุนไพร และวิธีการประคบสมุนไพรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • สุวภัทร บุญเรือน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก
  • สถาพร สัตย์ซื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก
  • วิไลลักษณ์ สุกใส วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก
  • ทวีศักดิ์ มากละม้าย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี

คำสำคัญ:

โรคลมปะกัง/ไมเกรน, อาการปวดศีรษะ, องศาการเคลื่อนไหวของคอ, ความถี่ของอาการปวดศีรษะ, การนวดรักษาแบบราชสำนัก, การประคบสมุนไพร, การพอกสมุนไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ผลของการรักษาโรคลมปะกัง (ไมเกรน) โดยวิธีการพอกสมุนไพรเพียงอย่างเดียว และ การประคบสมุนไพรเพียงอย่างเดียว เปรียบเทียบกับวิธีรักษามาตรฐานเดิมของการรักษาโรคลมปะกัง คือ การนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการประคบสมุนไพร กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการพอกยาสมุนไพร และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ใช้วิธีมาตรฐาน คือการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร ทั้งสามกลุ่มมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน เช่น ระดับอาการปวดศีรษะ องศาการเคลื่อนไหว ของคอ และความถี่ของอาการปวดศีรษะก่อนการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและประเมินอาการปวดศีรษะ การวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอและความถี่ของการปวดศีรษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired-t-test  และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ One way ANOVA

ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยของอาการปวดศีรษะ องศาการเคลื่อนไหวของคอ และความถี่ของอาการปวดศีรษะของผู้ป่วยก่อนการทดลองครั้งที่ 1 และหลังการทดลองครั้งที่ 12 ทั้งกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 (p value < 0.05) ทั้งระดับอาการปวดศีรษะระหว่างกลุ่มการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร และกลุ่มการประคบสมุนไพร  กลุ่มการการพอกยาสมุนไพร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p value < 0.05) ระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอระหว่างกลุ่มการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร กลุ่มการประคบสมุนไพร และกลุ่มการพอกยาสมุนไพร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p value < 0.05) ระดับความถี่อาการปวดศีรษะระหว่างกลุ่มการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร กลุ่มการประคบสมุนไพร และกลุ่มการพอกยาสมุนไพร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p value < 0.05)

ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยครั้งนี้ควรมีการศึกษาวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการนวดรักษาแบบราชสำนัก การประคบสมุนไพร และการพอกสมุนไพรให้ต่อเนื่องเพื่อเป็นข้อมูลในการทางวิชาการให้กับผู้ป่วยโรคลมปะกัง
ในการดูแลตนเองแทนการรับประทานยาแผนปัจจุบันต่อไป

 

References

1. Department of Thai Teditional and Alternative Medicine. Dictionary Medicine and Pharmacy. Bangkok :The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited ; 2015. (in Thai)
2. Sa-u, N. Effect of Thai Royal Massage and Herbal Poultice in Migraine Patient in
Saiburi Crown Prince Hospital, Pattani Province. Nonthaburi: Kanchanabhisek Institute of
Medical and Public Health Technology Affiliated Institute of Faculty of Natural Resources,
Rajamangala University of Technology Isan ; 2017. (in Thai)
3. Achananuphap, S. General Principles of Diagnosis and Treatment: Disease Treatment and Prevention 6ed Bangkok : Usa Printing Co.Ltd ; 2014. (in Thai)
4. Kruapanich, C.et al. The Immediate Effects of Traditional Thai Massage for Reducing Pain on Patients Related with Episodic Tension-Type Headache. Journal of Medical Technology and Physical Therapy:23 (1): 1-4 ; 2011. (in Thai)
5. Poonnotok, R. et al. Effect of Massage on Migraine Headache and Comfort of Patients with Migraine. Journal of Faculty of Nursing Burapha University. Vol 15 (4) : p 10-12 ; 2007. (in Thai)
6 Sai Buri Crown Prince Hospital, Pattani Province. Statistics Report on Migraine Patients, Sai Buri Crown Prince Hospital. Pattani Province: 2017.(in Thai)
7. Srisawat, P. Effectiveness of Thai Royal Massage, Herbal Compression and Thai Yoga 7 Postures on Migraine in Thai Traditional Medicine Clinic, Division of Medical Services, Phuket Municipality. Dissertation Master’s Degree of Higher Education: Rajamangala University of Technology Isan ; 2014. (in Thai)
8 Parasin, N., Khumful, S., Thammachai, A. Effects of Thai Herbal Hot Pack Treatment
on Lower Back Pain and Flexibility: A Pilot Study. Songklanagarind Medical Journal. Vol
35(3) : 372-378 ; 2017. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย