ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สุพร วงค์ประทุม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ชวิศา รัตนกมลกานต์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พรรณี ปานเทวัญ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • ฐานิตา พึ่งฉิ่ง วิทยาลัยทหารอากาศ

คำสำคัญ:

ปัจจัย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 218 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ความตรงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.76, 0.86 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.50 (Mean = 3.49, S.D. = 0.60) และ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ (Mean = 1.15,
S.D. = 0.60) โดยด้านทักษะการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 1.47, S.D. = 0.90) แรงสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 1.81, S.D. = 0.61; Mean = 2.24, S.D. = 0.45 ตามลำดับ)  การรับรู้ความรุนแรงของโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมินผลสามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 32.1 อย่างมีนัยสำคัญที่ .001

สรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูงขึ้น มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและยั่งยืนต่อไป

References

1. Panket, P., Kongprasert, J., Phatkram, N., Tantitham, N., Manosunthorn, S., Yingin, &
P. Prognosis Report Hypertension Disease. Division of Non Communicable Diseases.
2557. Available from:
http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no01.pdf“(i“ (in Thai)
2. Ban Mae Pia. Health Promotion Hospital. Project 3 or 2 sor, Na Mom District: Mpok;
2019. [Internet]. 2019 [cited 2020 Sep 20]: Available from:
http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no01.pdf
(in Thai)
3. Phanmung, N., Auiloadlop, A., Luti, S., Campaign Messages Hypertension Day. Division
of Non Communicable Diseases, Department of Disease Control. Ministery of Public
Health [Internet]. 2019 [cited 2020 Sep 20]: 1-3.
Available from: https://pr.moph.go.th/?url =pr/detail/2/07/127178/ (in Thai)
4. Samut Prakan Provincial Public Health Office. Performance Report of Nong Prue District Health Promotion Hospital. District Samut Prakan: Provincial Public Health Office. 2018.(in Thai)
5. Auttama, N., & Seangpraw, K. Factors Predictor Health literacy among Older Adults with
Risk Hypertension Disease, Phayao Province. Journal of Health Education.2019;42(2):75-85.
(in Thai)
6. World Health Organization. Division of Health Promotion, Education and Communications (HPR) Health Promotion Glossary. Geneva,Marilyn Langfeld Printed,(1998).
7. The Board of Directors of the National Health Development Plan No. 12 Ministry of Public Health. The 12th Health Development Plan (2017-2021). [Internet]. 2017
[cited 2020 Sep 20]; Available from:
http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180914162453_1_pdf\ (in Thai)
8 Nutbeam, D. The Evolving Concept of Health Literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12):2072-8.
9. Kaeodumkoeng, K. & Thumakul, D. Health Literacy Promoting in Aging Population. Journal of Health Science Reseach. 2015;9(2):1-8. (in Thai)
10.Liu Y., Meng H., Tu N., & Liu D. The Relationship between Health Literacy, Social Support, Depression, and Frailth amomg Community-Dwelling Older Patients with Hypertension and Diabetes in China. Frontiers in Public Health [Internet] 2020 [cited 2020 Sep 20]; 8 (Article 280), 1-11. Available from:
http://https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7344226/
11. Sujamnong, S., Therawiwat, M. & Imamee, N. Factors related to self-managemnet of Hypertensive Patients. Taladkwan District Health Promotion Hospital, Nonthaburi Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2013;29(2):20-30. (in Thai)
12. House JS, Umberson D, Landis KR. Structures and Processes of Social Support. Annual Review of Sociology. 1988 Aug;14(1):293-318.
13. Becker,M.H., & Rosenstock, I.M. Compliance with Medical Advice. In A. Steptoe & A. Matthews, Health Care and Human Behavior, 6th ed.London: Academic press.1988.
14. Sithani K. Relationship between Health Literacy and Quality of the Elderly’s Life at
the Central Part of the North-East. journal of Health System Research.2017; 11(1):26-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29