ผลของการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ระหว่างพยาบาลห้องฉุกเฉินกับหอผู้ป่วยใน ต่อคุณภาพการส่งเวร ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรสถาบันโรคทรวงอก

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สบายสุข นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กนกพร แจ่มสมบูรณ์ กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ไอ เอส บา, การส่งเวร, พยาบาลวิชาชีพ, ห้องฉุกเฉิน, หอผู้ป่วยอายุกรรมหัวใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ระหว่างพยาบาลห้องฉุกเฉินกับหอผู้ป่วยใน ต่อคุณภาพการส่งเวร ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติในหน้าที่หัวหน้าเวร สถาบันโรคทรวงอก กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรอย่างน้อย 1 ปี โดยปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรห้องฉุกเฉิน 12 คน และหอผู้ป่วยอายุรกรรมหัวใจ 8 คน รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ โปรแกรมการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ประกอบด้วย 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเวร โดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา 2) คู่มือการส่งเวร โดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา 3) แอพพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม และแบบประเมินคุณภาพการส่งเวรโดยใช้ รูปแบบไอ เอส บา ตามการรับรู้ของพยาบาล ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 7 ข้อ 2) ความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลที่ส่งเวร 25 ข้อ 3)ความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อให้การพยาบาลต่อเนื่อง 3 ข้อและ 4)ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน นำมาหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.99 ทดสอบค่าความเที่ยงกับพยาบาลวิชาชีพทีมีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบวิลคอกสัน

 

References

1. The Health Care Accreditation Institute (Public Organization), Patient Safety Goals:
SIMPLE Thailand 2018. Bangkok: Famous and Successful; 2018. (in Thai)
2. Joint Commission Center for Transforming Healthcare Releases Targeted Solutions Tool for Hand-Off Communications, Joint Commission Perspectives. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations [online]. 2021 [cited 2021/3/11]; 32(8): 1–3. Available from: https://www.jointcommission.org/-/media/deprecatedunorganized/imported-assets/tjc/systfolders/blogs/tst_hoc_persp_08_12pdf.pdf?db=web&hash=BA7C8CDB4910EF6633F01D0BC08CB1C
3. Nongna, S., Soodsawath, N., Wattanatanyakarn, D., Namma, M., Kumkoom, I., & Tacho, P., The Effectiveness of Shift Report Management Through SBAR Model of Professional Nurses in a Private Hospital. APHEIT Journal of Nursing and Health. 2020;2(1):45-57. (in Thai)
4. Ritklar, L., Transfer Optimization for Continuing Patient Care Using Lean Management. TUH Journal online 2019;4(2):51-54.(in Thai)
5. Thanapairoje, K., Khaikeow, S., & Hinjiranan S., The Effectiveness of Sending and Receiving Nursing Duty Through SBAR Communication Program at a Tertiary Level Hospital in the Medical Service Department Under Bangkok Metropolitan Administration. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital. 2018;14(1): 9-24.(in Thai)
6. Leonard, M., Graham,S., & Bonacum, D., The Human Factor: the Critical Importance of Effective Teamwork and Communication in Providing Safe Care. BMJ Quality & Safety. 2004;13(1) Suppl1:85-90.
7. Institute for Healthcare Improvement, SBAR Technique for Communication: a Situational Briefing Model [online]. 2016 [cited 2018/9/11]. Available from: http://www.ihi.org/resources/pages/tools/sbartechniqueforcommunicationasituationalbriefingmodel.aspx.
8. Aldrich, R., Duggan, A., Lane, K., Nair, K. & Hill, KN., ISBAR Revisited: Identifying and Solving Barriers to Effective Clinical Handover in Inter-Hospital Transfer – Public Report on Pilot Study [online]. 2009 [cited 2018/3/5]. Newcastle: Hunter New England Health. Available from: https://www.safetyandquality.gov.au/sites/default/files/migrated/ISBAR-PSPR.pdf
9. Thompson, J. E., Collett, L. W., Langbart, M. J., Purcell, N. J., Boyd, S. M., Yuminaga, Y., et al., Using the ISBAR Handover Tool in Junior Medical Officer Handover: a Study in an Australian Tertiary Hospital. Postgraduate Medical Journal [online]. 2011 [cited 2017/8/10]; 87(1027): 340–344. Available from: https://doi.org/10.1136/pgmj.2010.105569
10. Pakcheshm, B., Bagheri, I., Kalani, Z., The Impact of Using “ISBAR” Standard Checklist on Nursing Clinical Handoff in Coronary Care Units. Nursing Practice Today [online]. 2020 [cited 2021/1/2]; 7(4): 266-274. Available from: https://npt.tums.ac.ir/index.php/npt/article/view/851
11. Phoklin, D.The Effectiveness of Shift Report Management Through SBAR Model at Intensive Care Unit in a Private Hospital in Bangkok Metropolitan Master of Nursing Science. Nakhonpathom: Christian University of Thailand; 2016. (in Thai)
12. Curtis, K.., Murphy, M., Hoy, S., & Lewis J.M., The Emergency Nursing Assessment Process a Structured Framework for a Systematic Approach. Australian Emergency Nursing Journal. 2017:12(4): 130-136.
13. Charuwanno, R., Wongchanglor, J. & Pongsananurak, T., Effects of Teaching by Using SBAR Technique on Knowledge Attitude and Practice in Taking and Giving Report Among Nursing Students. Journal of The Thai Army Nurse. 2014;(15) 3 :390-397.(in Thai)
14. Singnoy, A., Nantsupawat, A. & Thungjaroenkul, P., Quality Improvement of Nursing Handover, Private Ward, Tertiary Care Center Hospital. Journal of Disease Prevention and Control : DPC.2 Phitsanulok.2019;(5)3:30-42.(in Thai)
15. Mechan, L., Nantsupawat, A., Thungjaroenkul, P, Quality Improvement of Nursing Handover, Surgical Intensive Care Unit, Uttaradit Hospital. Nursing Journal. 2020;(47)2;394-405.(in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-11