ผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วย ท่ากายบริหารมณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรค Office Syndrome, การนวดรักษาแบบราชสำนัก, การออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรค Office Syndrome ได้มาจากเลือกแบบเจาะจง ตามคุณ สมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการ ศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า แบบบันทึกการวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ Paired Sample t- test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่าการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม ค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดกล้าม เนื้อบ่า และระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอก่อนการทดลองครั้งที่ 1และหลังการทดลองครั้งที่ 3 ทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า และระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอ หลังการทดลองครั้งที่ 3 ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ป่วยโรค Office Syndrome ที่ได้รับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวช จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าลดลง และองศาการเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาครั้งนี้ควรสนับสนุนให้มีการใช้การนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
1. Department of Medical Services. Data of Office Syndrome and Office Syndrome Survey Data in European Countries. Bangkok : Department of Medical Services Bangkok.2013. (in Thai)
2. National Statistical Office. Survey data of publisher staff. Bangkok: National Statistical Office. 2016 (in Thai)
3. Maneejiraprakarn, P.Thai-Chinese-Indian Osteopathic Manipulative Medicine. (Video). Bangkok: Department of Thai Traditional and Alternative medicine. Ministry of Public
Health. 2004. (in Thai)
4. Ningsanond, N.Simple Way to Make Life Easier by Maneevada. Journal of
Srinakharinwirot University. 2011;3(5):1-12.(in Thai)
5. Sithowatcharapong, W., and Punyahotra, V. Effectiveness of Maneeveda exercise for Reducing Work Related Musculoskeletal Syndrome in Office Workers.Thesis of Master of Science
Anti-Aging and Regenerative Medicine: Mae Fah Luang University.2015. (in Thai)
6. Kaewmok, W. The Effect of the Maneeveda Exercise Technique on Body Balancing,
Flexibility and Strength in Elderly Persons Khunhan Hospital, Si Sa Ket Province. Burapha
University.2017. (in Thai)
7. Junpibul, P., and Supalak F.The Effectiveness of Thai Royal Massage on Treating Upper Back Pain in Applied Thai Traditional Medicine Center Suan Sunangha Rajabhat University. Bangkok: Suan Sunangha Rajabhat University.2010. (in Thai)
8. Suthakham, K., Nuysri, M., Iemsawasdikul, W. The Effects of a Self-Care Competency
Developing Program by Maneeveda Exercise on Self-Care Behavior to Decrease Work
Related Myalgia among Farmers at Pong District, Phayao Province. Journal of Faculty of
Nursing Burapha University. 2019. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.