การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การพยาบาลโรควิตกกังวล สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Development of Learning Multimedia about Nursing Care of Anxiety Disorders for Nursing Students

ผู้แต่ง

  • นุสรา นามเดช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สละบุรี
  • ดวงดาว อุบลแย้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • นงคาร รางแดง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • พนิดา เหลืองประทีป วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, มัลติมีเดีย, การพยาบาลโรควิตกกังวล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา และหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้  เรื่องการพยาบาลโรควิตกกังวล สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนา และมีการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรีปีการศึกษา 2562  จำนวน 118 คน รวบรวมข้อมูลโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและทำแบบทดสอบหลังการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประ กอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลโรควิตกกังวล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.87 2) ข้อสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 10 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบโดยใช้ KR-20 ได้เท่ากับ 0.53 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที (Paired t-Test)  

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการพยาบาลโรควิตกกังวล ประกอบด้วย บทนำและบทเรียนจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ความวิตกกังวล  โรควิตกกังวลทั่วไป โรคแพนิก โรคกลัว โรคย้ำคิดย้ำทำ

รูปแบบของบทเรียนประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็น รูปภาพ ข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอและแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ความยาวเรื่องละ 10-15 นาที ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น E1/E2 เท่ากับ 86/88 สูงกว่าเกณฑ์ที่หนด 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้พบว่าคะแนนเฉลี่ยของผลสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ p <.001 (Mean=7.57 และ 8.80  S.D. = 1.25 และ 0.89 ตามลำดับ) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.31 S.D. = 0.65)

สรุป งานวิจัยนี้ได้สื่อมัลติมีเดี่ยที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่หนด สามารถนำไปใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้จากการบรรยายในชั้นเรียน หรือเป็นบทเรียนในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยเฉพาะในการฝึกปฏิบัติ

References

REFFERENCES
1. Laohajaratsang, T. Multimedia Design [Video file]. 2017 [cited 2020/5/25].
Available from: https://www.youtube.com/watch?v=vqPNDIzbxg8 (in Thai)
2. Office of the High School Management OBEC. Guidelines for Learning Management in
the 21st Century [Online]. 2016 [cited 2020/5/25]. Available from:
https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf (in Thai)
3. Oliva, P.F., Gordon, W.R. Developing the Curriculum. USA: Pearson; 2013. p.256.
4. Khammanee, T. Teaching Science: Knowledge for Efficient Learning Process
Management. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University; 2012. p.151.(in Thai)
5. Mayer, R. E. Multimedia Learning. Psychology of Learning and Motivation. [Online].
2002 [cited 2020/11/1]; 41(-): 85-139. Available from: https://doi.org/10.1016/
S0079-7421(02)80005-6
6. Kruse, K., Keil, J. Technology-Based Training: Threat and Science of Design,
Development, and Delivery [Online]. 2000 [cited 2020/5/25]. Available from:
https://pdfs.semanticscholar.org/9dde/73651c087216677a930f1f5c2df02de6a5f9.
pdf
7. Praboromarajchanok Institute. Courses Bachelor of Nursing Program Issue Updated
2018. Boromarajanani College of Nursing Saraburi, Saraburi; 2018. (in Thai)
8. Sriarporn, P., Suntornlimsiri, N., Phakphum, P., Ragsakun, N., Kisakul, P., Puangsomba, A.
Development of a Multimedia Electronic Book “Role of Nurse in Postpartum Family Planning”. Nursing Journal. 2020;47(1):25-34. (in Thai)
9. Binhosen, V., Namjuntra, R. A Development of E-Learning Course Ware Media of BNS
405: Elderly Nursing on Student’s Readiness for Nursing Licensing Examination School of Nursing Rangsit University. Journal of Nursing and Education.2015;8(4):114-125. ((in Thai)
10. Hanrattanasakul, N., Sawetaiyaram, T. Richard E. Mayer’s Multimedia Learning Theory in Second Language Multimedia Design: A Case Study of Redundancy Principle and Modality Principle in second language research.Academic Service Journal,Prince of Songgkla University.2020;30(1):219-226. (in Thai)
11. Lamchang, S., Suklerttrakul, T., Lamchang, P. Development of Pediatric Medication
Administration Multimedia for Nursing Students. Nursing Journal. 2019;46(1):114-125. . (in Thai)
12. Pansuwan,K., Sangjak, N. Developing of Computer Assisted Instruction on Perineorrhaphyfor Nursing Students. Journal of Nursing and Health Sciences;2015 8(4): 114-125. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-23

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย