ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานและสถานการณ์เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิก และทักษะการตัดสินทางคลินิก ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ตรีชฎา ปุ่นสำเริง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • สุพรรณี กัณหดิลก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • รุ่งรวี ประเสริฐศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

คำสำคัญ:

การตัดสินทางคลินิก, การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน, การจัดการเรียนรู้โดยสถาน การณ์เสมือนจริง, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การตัดสินทางคลินิกได้รับการยอมรับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับพยาบาล มีความสำคัญต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ทักษะการตัดสินทางคลินิกจำเป็นต้องเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาพยาบาล เพื่อให้สามารถนำทักษะนี้ไปใช้ได้อย่างแท้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิก และทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ก่อนและหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน  และสถาน การณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ดําเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 61 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการวิจัยได้ฝึกปฏิบัติงานในแผนกฝากครรภ์ ห้องคลอด และหลังคลอด รวม 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย  คือ แผนการจัดการเรียนรู้ในคลินิกจำนวน 3 เรื่อง และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง จำนวน 5 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ฉบับภาษาไทย และแบบทดสอบการตัดสินทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และ 0.71ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาก่อนและหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน และสถานการณ์เสมือนจริง แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t=16.14, Sig= .00) และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาก่อนและหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ( t=6.80, Sig= .00)

สรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน และสถานการณ์เสมือนจริงในภาคปฏิบัติวิชา การพยาบาลมารดาพยาบาลทารกและการผดุงครรภ์ สามารถพัฒนานักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีให้มีการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิก และทักษะการตัดสินทางคลินิกเพิ่มมากขึ้น จึงควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ และทักษะการตัดสินทางคลินิก ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญของนักศึกษาพยาบาล

References

REFFERENCE
1. Lapkin S, Fernandez R, Levett-Jones T, Bellchambers H. The Effectiveness of Using Human Patient Simulation Manikins in the Teaching of Clinical Reasoning Skills to Undergraduate Nursing Students: A Systematic Review. JBI Libr Syst Rev. 2010; 8(16):661-694.
2. Tomlinson J. Using Clinical Supervision to Improve the Quality and Safety of Patient Care: A Response to Berwick and Francis. BMC Med Educ. 2015; xx: yy–zz.
3. Hart PL, Brannan JD, Long JM, Maguire MB, Brooks BK, Robley LR. Effectiveness of A Structured Curriculum Focused on Recognition and Response to Acute Patient Deterioration in An Undergraduate BSN Program. Nurse Educ Pract. 2014 Jan; 14(1):30-6.
4. Levett-Jones T, Hoffman K, Dempsey J, Jeong SY, Noble D, Norton CA, Roche J, Hickey N. The 'Five Rights' of Clinical Reasoning: An Educational Model to Enhance Nursing Students' Ability to Identify and Manage Clinically 'at Risk' Patients. Nurse Educ
Today. 2010 Aug; 30(6):515-20.
5. Tanner CA. Thinking like A Nurse: A Research Based Model of Clinical Judgment in Nursing. J Nurs Educ. 2006; 45(6): 204-11.
6. Lasater K. Clinical Judgment: The Last Frontier for Evaluation. Nurs Educ Pract. 2011; 11(2): 86–92.
7. Menezes SS, Corrêa CG, Silva Rde C, Cruz Dde A. Clinical Reasoning in Undergraduate Nursing Education: A Scoping Review. Rev Esc Enferm USP. 2015 Dec; 49(6):1037-44.
Portuguese.
8. Bjørk IT, Berntsen K, Brynildsen G, Hestetun M. Nursing Students' Perceptions of Their Clinical Learning Environment in Placements Outside Traditional Hospital Settings. J Clin Nurs. 2014 Oct; 23(19-20):2958-67.
9. McLean SF. Case-Based Learning and Its Application in Medical and Health-Care Fields: A Review of Worldwide Literature. J Med Educ Curric Dev. 2016 Apr 27; 3: JMECD.S20377.
10. Facione, PA. Critical Thinking: What It Is and Why It Counts. Millbrae, CA: California Academic Press; 2006.
11. Thistlewaite JE, Davies D, Ekeocha S. The Effectiveness of Case Based Learning in Health Professional Education. A BEME Systematic Review. Med Teach. 2012; 34: E421-4412.
12. Brown ST, Kirkpatrick MK, Greer A, Matthias AD, Swanson MS. The Use of Innovative Pedagogies in Nursing Education: An International Perspective. Nurs Educ Perspect. 2009 May-Jun; 30(3):153-8.
13. Bland AJ, Topping A, Wood B. A Concept Analysis of Simulation as A Learning Strategy in The Education of Undergraduate Nursing Students. Nurse Educ Today. 2011 Oct; 31(7):664-70.
14. Cant RP, Cooper SJ. Use of Simulation-Based Learning in Undergraduate Nurse Education: An Umbrella Systematic Review. Nurse Educ Today. 2017 Feb; 49:63-71.
15. Kanhadilok S, Punsumreung T, Pookpan S. The Integrated Clinical Teaching Methods on Reflective Thinking, and Clinical Judgment in 3rd Year Nursing Students in Maternal Infant and Midwife Nursing Practicum Course I.HCU Journal, 2017; 20 (40):87-99.(in Thai)
16. Williams B. Case-Based Learning: A Review of The Literature: Is There Scope for This Educational Paradigm in Pre-Hospital Education? Emerg Med. 2005; 22: 577-81.
17. Jeffries PR. A Framework for Design, Implement, and Evaluation Simulation Used as Teaching Strategies in Nursing. Nurs Educ Perspect, 2005; 26(2):96-103.
18. Punsumreung T, Kanhadilok S. Inchaitep S. The Thai version of Lasater Clinical Judgement Rubric (T-LCJR): Psychometric Properties, JNAE, 2020: 13(1):14-26. (in Thai)
19. Suksawatdiporn P, Pasiphol S, Na-songkhla, J. Development on The Clinical Judgement Test in Obstetric Nursing for Nursing Students. JOPN, 2019; 11(2): 464-473. (in Thai)
20. George D, Mallery M. SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference, 17.0 update. 10th ed. Boston: Pearson; 2010.
21. Lasater K. High-Fidelity Simulation and The Development of Clinical Judgment: Students' Experiences. J Nurs Educ. 2007 Jun; 46(6):269-76.
22. Pierce VC. Baccalaureate Nursing Student’s Perception of Clinical Judgment and Self-Efficacy Following High-Fidelity Simulation Doctor of Education. The University of Alabama; 2011.
23. Abdou FA, Dogham RS. Effect of Case Based Learning on Internship Critical Care Nursing Students' Clinical Judgment. IOSR-JNHS.2016; 5(5): 15-20.
24. Yuan HB. Williams BA. Man CY. Nursing Students’ clinical Judgment in High-Fidelity Simulation Based Learning: A Quasi- Experimental Study. J Nurs Educ Pract. 2014; 4(5):7-15.
25. Li AM. Simulation-Based Clinical Skill Training to Promote Effective Clinical Learning with Simulation Evaluation Rubrics in Nursing Education. Int J Inf Educ. 2016; 6(3): 237-42.
26. Qi M. Yi Q, Mo M, Huang H, Yang Y. Application of Case-Based Learning in Instructing Clinical Skills on Nursing Undergraduates. Biomed Res.2018; 29 (2): 300-304
27. Watson F, Rebair A. The Art of Noticing: Essential to Nursing Practice. Br J Nurs. 2014 May 22-Jun 11; 23(10):514-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20