การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษ สุนัขบ้า โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

The Development of Community-based Rabies Implementation and Surveillance Model

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ มิตรภานนท์
  • สุเพียร สมนา
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ชุมชนเป็นฐาน, เฝ้าระวัง, โรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวัง
โรคพิษสุนัขบ้า โดยการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นตอนแรก การวิจัย (Research: R1) เป็นการศึกษาสภาพ
ปัญหาการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) ออกแบบและ
พัฒนารูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผล
ของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ .90 แบบสอบถาม
การมีส่วนร่วมที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 แบบบันทึกและแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Paired t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และ 95% CI
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ประกอบ
ด้วยขั้นตอน (1) การศึกษาบริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา (2) การจัดทำแผน (3) การดำเนินการ และ
(4) การสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดย
รวมมากกว่าก่อนการพัฒนา (p < .001) โดยมีคะแนนความรู้มากกว่าก่อนการพัฒนา 7.48 คะแนน (95%CI;
7.096, 7.858) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการมีส่วนร่วมโดยรวมมากกว่าก่อนการพัฒนา (p < .001) โดยมีคะแนน
การมีส่วนร่วมมากกว่าก่อนการพัฒนา 1.12 คะแนน (95%CI; 1.051, 1.191) มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่
ในระดับมาก (Mean = 4.16, S.D.=0.57) และผลการสำรวจสุนัขและแมว พบว่า มีสุนัข 4,897 ตัว และ
แมว 673 ตัว รวม 5,570 ตัว สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีน 5,570 ตัว คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการดำเนินงานฯ ส่งผลให้เครือข่ายมีความรู้และมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานและเฝ้าระวังฯ โดยมีความพึงพอใจและผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร
นำรูปแบบนี้ไปดำเนินการในพื้นที่ต่อไป

References

1. Division of Communicable Disease. Department
of Disease Control. MOPH. Rabies Awareness
Series. 3th ed. Nonthaburi, 2011. (in Thai)
2. Thai Rabies Net. RABIES in animal [online].
2018 [cited 2018/4/2]. Available from: http://
www.thairabies.net/trn/report.aspx (in Thai)
3. Division of Communicable Disease. Department
of Disease Control. MOPH. Reports disease
surveillance systems 506, Rabies. 2018 [online]. [cited 2018/4/2]. Available from: http://
www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/
y61/d42_1161.pdf (in Thai)
4. Nong Hi District Public Health Office. Report
of the operation for the fiscal year 2018. Nong
Hi District Health Network, Roi-Et Province,
2018. (in Thai)
5. Department of Disease Control. Rabies situation in Thailand [online]. 2018 [cited
2018/4/7]. Available from: http://www.ddc.
moph.go.th.
6. Bureau of Disease Control and Veterinary
Services. Information system for rabies surveillance [online]. 2016 [cited 2016/4/2]. Available from: http://www.thairabies.net/dashboard/default.aspx.
7. Phisek, S and Saweerach, P. Risk factors of
rabies in dogs in Mahasarakham Province
2014-2016. KKU Veterinary Journal, 2019;
29(2): 71-81. (in Thai)
8. Nilpan, M. Educational research methodology.
8thed. Nakhon Pathom: Silpakorn University
Press, 2014. (in Thai)
9. Beakley, B. A., Yoder, S. L., and West, L. L.
Community-based instruction: A guidebook for
teachers. VA: Council for Exceptional Children,
2003.
10. Yangsri, H. The development model for rabies
implemented surveillance in the community to
rabies free zone in Meungbuengkan district,
Buengkan province. Thesis of Master Degree
of Public Health, MAJOR Public Health, Mahasarakham University, 2017. (in Thai)
11. Chokluechai, K. People Participation in Rabies
Prevention at Najomtien, Na Chom Thian Subdistrict Administration Organization Office,
Chonburi. Thesis of Master Degree of Public
Administration Program in Public Management
Graduated School of Commerce, Burapha
University, 2016. (in Thai)
12. Sriphoowong, W., et al. The Operation of Rabies Free Zone of Both Human and Animal
Rabies with Community Participation Approach
in Kantharawichai District, Mahasarakham Province. Journal of Health Science, 2017;
26(2): 301-309. (in Thai)
13. Sontisirikrit, S., Leuwrak, J., Thantawiwatanaon,
N., Boonnuam, T., Deangsriploy, P., and Aimsirithaworn, S. Collaborative innovation and
synergistic strategies for rabies free zone using
One Health approach in Ladkrabang District,
Bangkok, 2015. Disease Control Journal,
2016; 42(1): 25-35. (in Thai)
14.Thanaprasitpattana, M. The effect of a program
to promote knowledge and awareness on
Rabies Prevention of Village Health Volunteers,
Nong Ta Khong Sub-district,Pong Nam Ron
District, Chanthaburi Province, 2018. (in Thai)
15. Ragsakhom, B. and Chayaphong, A. Evaluation
of information perception about diseases and
health hazards, disease prevention and control
behavior, and image of the Department of
Disease Control on Thais in Local Disease
Control Office at 6, Chonburi Province. Journal
of Office of Disease Prevention and Control
10, 2018; 16(2): 38-57. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-18

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย