ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการความปวดจาก กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง กระดูกเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ จังหวัดจันทบุร

Factors Influencing Pain Management Behaviors of Work-Related Musculoskeletal Disorders among Fruits Farmers in Chanthaburi Province

ผู้แต่ง

  • สิริวิมล กิจชล
  • วรรณรัตน์ ลาวัง
  • นิสากร ชีวะเกตุ

คำสำคัญ:

เกษตรกรชาวสวนผลไม, กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างกระดูกจากการทำงาน, ความปวด, พฤติกรรมการจัดการความปวดจันทบุรี

บทคัดย่อ

ความปวดจากกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างกระดูกเนื่องจากการทำงานในเกษตรกร
ชาวสวนผลไม้เป็นปัญหาสุขภาพที่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมการจัดการความปวดที่เหมาะสม การวิจัยเชิงพรรณนา
แบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความปวดและปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมการจัดการความปวดดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี
ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน จำนวน 262 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์
ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวด ทัศนคติต่อการจัดการความปวด การรับรู้ความ
สามารถตนเอง การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัด การความปวด มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 .89 .93 .92 .93 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการ
วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการความปวดภาพรวมอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมด้าน
การรักษาความปวดสูงกว่าด้านการฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อ โดยปัจจัยการรับรู้ความสามารถตนเอง การ
เข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวด สามารถร่วมกัน
ทำนายพฤติกรรมการจัดการความปวดได้ร้อยละ 49.2 (R2 = .492, p < .001)
สรุป: พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความปวดที่เหมาะสม
ในเกษตรกรชาวสวนผลไม้ โดยเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเองและความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวด ตลอด
จนส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและสนับสนุนครอบครัวและบุคคลสำคัญมีส่วนร่วมจัดการความปวด
เพื่อให้สามารถจัดการความปวดได้อย่างเหมาะสมและเพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนผลไม้

References

1. National Statistical Office, Agricultural [Internet].
2016 [cited 2019 December 12]. Available
from: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries14.html (in Thai)
2. Health Data Center, The Morbidity Rate of
Worked Related Musculoskeletal Disorders.
2019 [cited 2019 December 1]. Available
from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ (in Thai).
3. Kitchol, S., Situational of Health Problem and
knowledge of health Care among Fruit Farmers: A Pilot Study. Thailand: Faculty of Nursing
Burapha University; 2018. (in Thai)
4. Bureau of Occupational and Environmental
Diseases Department of Disease control, Report of Occupational Disease and Environment
Situation in 2017. 2017 [cited 2019 December 1]. Available from: http://envocc.ddc.moph.
go.th/contents/view/669.
5. Bevan, S., Economic Impact of Musculoskeletal Disorders (MSDs) on Work in Europe.
Best Practice & Research Clinical Rheumatology, 2015; 29(3): 356-73.
6. Lazarus, R. S., Folkman, S., Stress, Appraisal,
and Coping. NEW YORK: Springer Publishing
Company; 1984.
7. Manit, N., Sutthakorn, W., Wisuttananon, A.,
Effect of Stretching Exercise on Low Back Pain
and Functional Ability in Home-Based Garment
Workers. Nursing Journal 2011; 38(4): 93-
105. (in Thai)
8. Rivara, F.P., MacKenzie, E.J., Jurkovich, G.J.,
Nathens, A.B., Wang, J., Scharfstein, D.O.,
Prevalence of Pain in Patients 1 Year After
Major Trauma. Archives of Surgery 2008;
143(3): 282-87.
9. Wongbut, A., Hansakul, A., Factors Associated
with Sewing Group Workers in The Informal
Sector’s Prevention Behavior to Occupational
Hazards in Bannonpho Village Loomlumchee
Sub-district Bankhwao District Chaiyaphum
Province. Journal of Faculty of Physical Education, 2011; 15(1): 142-53. (in Thai)
10. Gupta, G., Tarique (2013) Prevalence of Musculoskeletal Disorders in Farmers of KanpurRural. India. Journal Community Medicine and
Health Education, 2013; 3(249): e11-e19.
11. Khanaphan, K., Suggaravetsiri, P., Chaiklien,
S., Ergonomics risk and Muscle Fitness among
Rubber Planters in Ubon Ratchatani Province.
UBRU Journal for Public Health Research
2019; 8(2): 21-31. (in Thai)
12. Green, L. W., Kreuter, M.W., Health Program
Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield;
2005.
13. Rojpaisarnkit, K., Factors Influencing of Health
Promoting Behaviors of Thai Elderly: A Case
Study of Middle Old Age in Samut Prakan
Province. Journal of Nursing Science, 2015;
28(3): 68-83. (in Thai)
14. Duongthipsirikul, S., Factors Related to SelfHealth Care Behavior of Elderly at Tambon
Charoenmuang Amphoe Phan Changwat
Chiang Rai. Journal of the Association of Researchers, 2010; 15: 83-92. (in Thai)
15. Chanthaburi Provincial Public Health Office,
Health Data and Information. Thailand: Chanthaburi Provincial Public Health Office; 2018.
(in Thai)
16. Polit, D. F., Beck, C.T., Nursing Research
Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. New York: Appleton & Lange;
2012.
17. Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A., Vinterberg, H., Bierring-Sorensen, F., Andersson, G.,
Standardized Nordic Questionnaires for the
Analysis of Musculoskeletal Symptoms. Applied Ergonomic, 1987; 18(3): 233-37.
18. Best, J. W., & Khan, J. V., Research in Education. Cape Town: Pearson Education. Ecological Approach. New York: Quebecor World
Fairfield; 2006
19. SrisathitNarakun, B., The Methodology in Nursing Research. Bangkok: You and I Intermedia;
(2012). (in Thai)
20. Jantratap, P., Chaiklieng, S., Prevalence and
Risk Factors of Musculoskeletal Disorders
among Solid Waste Collectors Employed by
the Local Administrative Organizations at Nong
Bua Lam Phu Province. KKU Journal for Public Health Research 2011; 4(2): 49-58. (in
Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-15

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย