การพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ทักษะการพยาบาลด้วยตนเอง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
The Practice Guideline in Nursing Laboratory Development to Promote Self-Directed Learning for Nursing Skills among Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Phra-Phutthabat
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการพยาบาลด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล 2) ทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติฯ3) ประเมินผลความพึงพอใจของการใช้แนวปฏิบัติฯวิธีดำเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการให้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาลและการฝึกทักษะด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) 2) ทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการพยาบาลด้วยตนเอง 3) นำผลจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการทบทวนวรรณกรรมมาเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ 4) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติฯ โดยผู้ เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 5) การทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ ในกลุ่มตัว อย่างจำนวน 30 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ชั้นปีละ 10 คน ตรวจสอบหาความเชื่อมั่นด้วย Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.81 6) นำแนวปฏิบัติไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ชั้นปีละ 55 คน ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของแนวปฏิบัติฯ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และ 0.82
ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการพยาบาลในห้องปฏิบัติการพยาบาลด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบบการจองออนไลน์ 2) ระบบการจัด Zone ทักษะ 3) ระบบการเข้าใช้บริการ 4) ระบบรุ่นพี่ประจำทักษะสอนรุ่นน้อง 5) ระบบการให้คำปรึกษาของอาจารย์ผ่านออนไลน์ 6) การประเมินทักษะผ่านออนไลน์ 7) ระบบคู่มือทักษะผ่านระบบออนไลน์ การประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติฯ อยู่ในระดับดีมาก (Mean =4.37, S.D.=0.58) ผลการประเมินความพึงพอใจของแนวปฏิบัติฯอยู่ในระดับดี (Mean =4.40, S.D.=0.59)
สรุป แนวปฏิบัตินี้สามารถเพิ่มทักษะการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับสอนนักศึกษาพยาบาลก่อนการดูแลผู้ป่วยจริงได้
References
1. Thailand Nursing and Midwifery Council. Competency of Nurses and Midwives. Bankkok: Siriyodkarnpim; 2010. (in Thai)
2. Skager, R. Curriculum Evaluation for Lifelong Education. Toronto : Pergamon Press; (1977).
3. Pasuk, P. et al. A study of Factors Affects the Self-Directed learning of Full Time Students of Rachapat Suandusit University. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University. (2012); 17(1). 151-153. (in Thai)
4. Brent G. Wilson. Constructivist Learning Environments: Case Studies in Instructional Design. United States of America. (1996).
5. Krejcie, R.V., & D.W..Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970, 30(3). 607-610.
6. Kaemanee, T. Art of Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2011.
7. Klinchad, R. et al. The Development of Nursing Laboratory Room on Self- Directed Learning of Nursing Student in Pra-pokklao Nursing College. Journal of Phrapokklao Nursing College. (2018).; 30(1). 190-199. (in Thai)
8. Rattanarat, P. et al. The Development of Helping System and Counseling to Student SWU Journal. (2016); 17(1). 47-58. (in Thai)
9. Keawka, S. et al. Development of Online Reservation for Library Rooms Services in the Library, Sakon Nakhorn Rajabhat University. PULINET Journal. (2017); 4(2).71-82. (in Thai)