การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในคลินิก โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Development of a Clinical Instructional Model Using a Research- Based Approach to Enhance the Ability in Creating Nursing Innovation for Nursing Students

ผู้แต่ง

  • นิสากร วิบูลชัย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • นฤมล เอนกวิทย์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • มลฤดี แสนจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • กัญญาพัชร บัณฑิตถาวร วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนในคลินิก, การใช้วิจัยเป็นฐาน, นวัตกรรมทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วย การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในคลินิกโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล  การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และ 3) นำรูปแบบไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 101 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินโครงสร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล 4) แบบประเมินคุณภาพชิ้นงานนวัตกรรมทางการพยาบาลและ 5) แบบบันทึกผลการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 - มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ 2) การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ 3) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีสาระสำคัญของการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ตามแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ 1) ระบุสถานการณ์ปัญหา 2) ตั้งคำถาม 3) สืบค้นหลักฐานเพื่อตอบคำถาม 4) ประเมินความตรง

ของหลักฐาน 5) ตัดสินใจและนำไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการพยาบาล และ 6) ตรวจสอบหรือประเมินผลการนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล  ผลการตรวจสอบคุณภาพพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการนำไปใช้พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีผลงานนวัตกรรมสำเร็จตามเป้าหมาย และมีความคิดเห็นในภาพรวมที่ดีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น

 

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการเรียนการสอนในคลินิกโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาลและ สามารถนำรูปแบบไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถของนักศึกษา รวมถึงสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล

References

REFERENCES
1. Panich, V. Building Professional Learning for 21st Century. Bangkok: The Siam Commercial Foundation; 2013. (in Thai).
2. Kunaviktikul, W. Teaching and learning in the Discipline of Nursing in the 21st Century. Nursing Journal, 2015; 42(2): 152-6. (in Thai).
3. Srimahasarakham Nursing College. Bachelor of Nursing Science Program (Revised B.E. 2555). Mahasarakham: College; 2012. (in Thai).
4. Srimahasarakham Nursing College. Instruction Evaluation Report in Academic Year 2016. Mahasarakham: College; 2017. (in Thai).
5. Paweenbampen, P. Research-Based Learning. CMU Journal of Education, 2017; 1(2): 62-71. (in Thai).
6. Bandansin, J. Develop the Creativity Toward the Nursing Service Innovation. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 2014; 15(3): 9-17. (in Thai).
7. Klangtamniam, K. Nursing Service Innovations. Journal of Phrapokklao Nursing College, 2011; 22(2): 71-9. (in Thai).
8. Flemming, K. & Fenton, M. Making Sense of Research Evidence to in form Decision Making. In: Thompson C, Dowding D, Editors. Clinical Decision Making and Judgement in Nursing. Edinburgh: Churchill Livingstone; 2002. p. 109-29.
9. Popham, WJ. & Baker, EL. Systematic Instruction. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall; 1970.
10. Brown, JW., Lewis, RB., & Harcleroad, FF. AV Instruction: Technology, Media, & Methods. 6ed. New York: McGraw-Hill; 1985.
11. Joyce, B. & Weil, M. Model of Teaching. 8th ed. New York: Prentice-Hall; 2009.
12. Ariya, K., Kaewurai, W., & Chaisanit, P. A Development of an Instructional Model Based-on Differentiated Instruction Approach to Enhance the Ability of Learning Management Design of 21st Century for Student Teachers, Rajabhat University. Lampang Rajabhat University Journal, 2016: 5(2): 1-17. (in Thai).
13. Malai C, Jansook N, Tosem.S,,Jadpum,J. Education Administration Model for 21st Century Skills Delopment of Nursing Students. Journal of Nursing and Education.2019;12(4):121-139.(in Thai)
14. Kanhadilok, S., Punsumreung, T., & Malai, C. Evidence Based Teaching Strategies in Nursing. Journal of Nursing and Health Care, 2017; 35(4): 34-41. (in Thai).
15. Thaewopia, S., Thongnarong, P., & Wichai, S. Learning Style of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Khon Kaen. Journal of Nursing and Health Care, 2016; 35(2): 227-235. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย