การบูรณาการการสอนภาคปฏิบัติด้วยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล ที่มีต่อทักษะการสืบค้นวรรณกรรม ทักษะการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์สำหรับนักศึกษาพยาบาล

The Integrated Clinical Teaching Methods with EBN on Literature Searching Skill, EBN Skills, EBN Attitude, and Nursing Practice in Maternal and Newborn Nursing and Midwifery of Nursing Students

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี กัณหดิลก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • ตรีชฎา ปุ่นสำเริง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • ศิริวรรณ ผูกพัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

คำสำคัญ:

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล, ทักษะการสืบค้นวรรณกรรม, ทักษะการปฏิบัติการพยาบาล, ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์, การบูรณาการการสอนภาคปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการสอนภาคปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสืบค้นวรรณกรรม ทักษะการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ก่อนและหลังการบูรณาการการสอนภาคปฏิบัติด้วยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 90 คน ที่ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ระยะเวลา 8 สัปดาห์ รูปแบบที่ใช้ในการสอนโดยการปฏิบัติในสถานการณ์จริงร่วมกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล ประกอบด้วย การระบุปัญหา การตั้งคำถาม การค้นหาหลักฐาน การประเมินคุณภาพของหลักฐาน การนำไปใช้ และการประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสืบค้นวรรณกรรม แบบประเมินทักษะการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล  แบบประเมินทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79, 0.83 ,0.62 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่าทักษะการสืบค้นวรรณกรรม มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นจาก 2.10 เป็น 3.36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทักษะการใช้หลักฐานทางประจักษ์ทางการพยาบาล มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 2.10 เป็น 3.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ มีค่าเฉลี่ยลดลง จาก3.08 เป็น 2.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทักษะปฏิบัติการพยาบาล: ด้านการส่งเสริมสุขภาพและด้านการรักษาพยาบาล การบำบัดและบรรเทาอาการ เพิ่มขึ้นจาก 2.77 เป็น 3.43 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

สรุปผลการวิจัย การบูรณาการการสอนภาคปฏิบัติด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล สามารถเพิ่มทักษะการสืบค้นวรรณกรรม ทักษะการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการเสริมสุขภาพ และการดูแลรักษา สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3  ในการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์แต่มีทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ลดลง

References

REFERENCES
1. Chen CM, & Lou MF. The Effectiveness and Application of Mentorship Programs for Recently Registered Nurses: a Systematic Review. Journal of Nursing Management, 2014; 22(4): 433-442.
2. Schaffer MA, Sandau KE, & Diedrick L. Evidence‐Based Practice Models for
Organizational Change: Overview and Practical Applications. Journal of Advanced Nursing, 2013; 69(5): 1197-1209.
3. Potter PA. & Perry AG. Fundamental of Nursing. 6th ed. St.Louis: Mosby; 2005
4. Melnyk BM, Fineout-Overholt E. Evidence-Based Practice in Nursing & Healthcare: A Guide to Best Practice. 3rd ed.Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2015.
5. Prasertsri N, Jirappapa M, Chareannukul A. The Effect of Evidence Based Practice (EBP) Teaching Program on the EBPCcompetence of Nursing Students. Nursing Public Health and Education Journal, 2016; 17(3): 144-155.
6. Duke University Medical Center Library. Introduction to Evidence Based Practice [online] 2017.[cited 2017/6/7] Available from: http://guides.mclibrary.duke. edu/c.php?g=158201&p=1036002
7. Zedeh HH, Khajeali N, Khalkhali H, Mohammadpour Y. Effect of Evidence-Based Nursing on Critical Thinking Disposition among Nursing Students. Life Science Journal, 2014;11(9): 487-499.
8. Reid J, Briggs J, Carlisle S, Scott D, & Lewis C. Enhancing Utility and Understanding of Evidence Based Practice through Undergraduate Nurse Education. BMC Nursing, 2017;16:58.
9. Department of Education Development, Praboromarajchanok Institute. Handbook for Learning Outcomes Evaluation as the Thai Qualifications Framework for Higher Education, Nursing Science (1st revised version). Nontaburi : Praboromarajchanok Institute; 2013.(in Thai)
10. Upton P, Scurlock- Evan L,& Upton D. Development of the Student Evidence-Based. Practice Questionnaire (S-EBPQ), Nurse Education Today, 2016; 37:38-44.
11. George D, & Mallery M. SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference, Update. 10th ed. Boston: Pearson; 2010.
12. Majid S, Foo S, Zhang X ,Mokhtar IA ,Luyt B, Chang Y & Theng YL. Nurses’ Information use and Literature Searching Skills for Evidence Based Practices. Malaysian Journal of Library & Information Science, 2013; 18(1): 67-78.
13. Aglen B. Pedagogical Strategies to Teach Bachelor Students Evidence-Based Practice: A Systematic Review. Nurse Education Today, 2016; 36: 255–263.
14. Fuller B. Evidence-Based Instructional Strategies: Facilitating Linguistically Diverse Nursing Student Learning. Nurse Educator, 2013; 38(3), 118-121.
15. Black AT, Balneaves LG, Garossino C, Puyat JH, Qian H. Promoting Evidence-Based
Practice Through a Research Training Program for Point-of-Care Clinicians. Journal of Nursing Administration, 2015; 45(1):14-20.
16. Kanhadilok S, Pungsumreung T, & Malai C. Evidence Based Teaching Strategies in Nursing.
Journal of Nursing Health Care, 2017; 35(4): 34-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-04

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย