แบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ฉบับภาษาไทย:คุณภาพ ของเครื่องมือ

The Thai version of Lasater Clinical Judgement Rubric (T-LCJR): Psychometric Properties

ผู้แต่ง

  • ตรีชฏา ปุ่นสำเริง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท
  • สุพรรณี กัณหดิลก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท
  • ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความเชื่อมั่น, แบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

ความสามารถในการตัดสินทางคลินิกของพยาบาลส่งผลต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วย ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะการตัดสินทางคลินิกตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ การประเมินผลการตัดสินทางคลินิกนั้นต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน แบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ได้รับการยอมรับและได้นำใช้ในการประเมินการตัดสินทางคลินิกอย่างกว้างขวาง  แต่ยังไม่มีการแปลแบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์เป็นภาษาไทย การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพแบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ฉบับภาษาไทย รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยนำแบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์มาแปลเป็นภาษาไทย และนำไปทดสอบในนักศึกษาพยาบาล 220 คน จากวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง  วิธีดำเนินการวิจัย กระบวนการการแปลเครื่องมือดำเนินการโดยใช้วิธีการแปลย้อนกลับ จากนั้นนำเครื่องมือฉบับภาษาไทยไปทดสอบโดยให้ผู้ตอบประเมินการตัดสินทางคลินิกด้วยตนเอง เมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดาและทารกและการผดุงครรภ์ 2 ที่มีการปฏิบัติงานบนคลินิกและการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง

 

ผลการวิจัย ความเที่ยงตรง (Reliability)ของแบบวัด อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค (Cronbach's α) อยู่ระหว่าง 0.653 ถึง 0.775 และค่าสัมประสิทธิ์โดยรวมอยู่ที่ 0.881 โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ฉบับภาษาไทยซึ่งประกอบ ด้วย 4 องค์ประกอบ         และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 / df = 1.45, χ 2 = 46.44, df = 32, p = 0.755 GFI= 0.96, NFI= 0.97 RMR=0.024และ RMSEA= 0.032)

สรุป แบบวัดการตัดสินทางคลินิกของลาซาเตอร์ฉบับภาษาไทยมีคุณภาพเป็นน่าพอใจเท่าเทียมกับเครื่องมือต้นฉบับและสามารถใช้ในการประเมินการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลไทยได้

References

REFERENCES
1. Lapkin S, Levett-Jones T, Bellchambers H, Fernandez R. Effectiveness of Patient Simulation Manikins in Teaching Clinical Reasoning Skills to Undergraduate Nursing Students: a Systematic Review. Clin Simul Nurs [Internet]. 2010; 6(6):e207–22. Available from: https://doi.org/10.1016/j.ecns.2010.05.005
2. Purling A, King LA. Literature Review: Graduate Nurses' Preparedness for Recognizing and Responding to the Deteriorating Patient. J Clin Nurs. 2012; 21:3451–65.
3. Tomlinson J. Using Clinical Supervision to Improve the Quality and Safety of Patient Care: a Response to Berwick and Francis. BMC Med Educ. 2015; xx:yy–zz.
4. Tanner CA. Thinking Like a nurse: a Research Based Model of Clinical Judgment in Nursing. J Nurs Educ. 2006; 45(6):204-11.
5. Anderson LW, Krathwohl DR, Airasian PW, Cruikshank KA, Mayer RE, Pintrich PR, et al. A Taxonomy for learning, Teaching, and Assessing: a Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives New York, NY: Pearson, Allyn & Bacon; 2001.
6. Banning M. Clinical Reasoning and its Application to Nursing: Concepts and Research Studies. Nurse Educ Pract. 2008; 8(3):177–83.https://doi.org/10.1016/j.nepr.2007.06.0049
7. Benner PE. From Novice to Expert: Excellence and Power in Clinical Nursing Practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 1984.
8. Kardong-Edgren S, Adamson KA, Fitzgerald C. A Review of Currently published Evaluation Instruments for Human Patient Simulation. Clin Simul Nursing. 2010; 6:e25–35. https://doi.org/10.1016/j.ecns.2009.08.004
9. Lasater K. Clinical judgment: the Last Frontier for Evaluation. Nurs Educ Pract. 2011; 11(2):86–92.
10. Lasater K. Clinical judgment Development: using Simulation to Create an Assessment Rubric. J Nurs Educ. 2007; 46 (11):496-503
11. Miraglia R, Asselin ME. The Lasater Clinical Judgment Rubric as a Framework to Enhance Clinical Judgment in Novice and Experienced Nurses. J Nurses Prof Dev [Internet]. 2015[cited 2016 Oct 02]; 31(5): 284-91.
12. Yang F, Wang Y, Yang C, Zhou MH, Shu J, Fu B, Hu H. Improving Clinical Judgment by Simulation: a Randomized Trial and Validation of the Lasater Clinical Judgment Rubric in Chinese. BMC Med Educ. 2019 Jan 14; 19(1):20. doi: 10.1186/s12909-019-1454-9.
13. Shin H, Park CG, Shim K. The Korean Version of the Lasater Clinical Judgment Rubric: A Validation Study. Nurse Educ Today. 2015; 35(1):68-72.
14. Adamson KA, Kardong-Edgren S, Willhaus J. An Updated Review of Published Simulation Evaluation Instruments. Clin Simul Nurs. 2013; 9(9):393-400.
15. Brislin RW. The Wording and Translation of Research Instrument. In W. J. Lonner & J. W.Berry, editors. Field Methods in Cross-Cultural Research. Beverly Hills: Sage; 1986. P. 137-64.
16. Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis (7th Ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 2010
17. Beaton D, Bombardier C, Guillemin F, & Ferraz MB. Recommendations for the Cross-Cultural Adaptation of Health Status Measures. Toronto, Canada: Institute for Work and Health. 2007 Retrieved from http://www.dash.iwh.on.ca/sites/dash/files/downloads/cross
cultural_adaptation_2007.pdf
18. Manetti W. Sound Clinical Judgment in Nursing: A Concept Analysis. Nurs Forum. 2019; 54(1): 102-110
19. Simmons, B. Clinical Reasoning: Concept Analysis. J Adv Nurs. 2010; 66(5): 1151‐ 1158.
20. Victor‐Chmil, J. Critical Thinking Versus Clinical Reasoning Versus Clinical Judgment: Differential Diagnosis. Nurs Educ. 2013; 38(1): 34‐ 36.
21. Cohen R, Swerdlik M. Psychological Testing and Assessment. Boston: McGraw-Hill Higher Education; 2010
22. Tavakol M, Dennick R. Making Sense of Cronbach′s Alpha. Int J Med Educ 2011; 2:53-
23. Bland J, Altman D. Statistics Notes: Cronbach's alpha. BMJ. 1997; 314:275.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-10

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย