ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน ต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัว ผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก
คำสำคัญ:
Information Management Program, Anxiety, Satisfaction, Family member, Intensive Care Unitบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครนายก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2554 จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเป็นสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนจากผู้วิจัย จำนวน 5 ครั้ง ประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน ได้แก่ การให้ข้อมูลด้านกระบวนการ การให้ข้อมูลด้านความรู้สึก และการให้ข้อมูลเรื่องแหล่งประโยชน์ 2) การได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย 3) การได้รับความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุด 4) การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ และ
5) การได้รับกำลังใจและระบายความรู้สึก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการสุขภาพตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลและแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า ในระยะหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 อาจสรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนสามารถลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักได้
คำสำคัญ : โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน ความวิตกกังวล ความพึงพอใจ สมาชิกในครอบครัว
หอผู้ป่วยหนัก
Abstract
The purposes of this quasi - experimental study were to examine the effect of the Information Management Program on anxiety and satisfaction among family members of Patients in Intensive Care Unit. The experimental group was composed of the family members of Patients admitted at the
Intensive Care Unit of Nakhonnayok Hospital between February 2011 – May 2011. The sample of 60 family members were randomly assigned into the experimental and control groups equally; 30 people in experimental group and 30 people in control group.The experimental group received the
Information Management Program. Each family member of patients took 5 times for the experiment. Process of Information Management Model Program composed of formal information, close patient, convince, participation and willing. The control group received routine services program. The
research collected data by using anxiety questionnaire designed by Suwapee Chantrajessada and satisfaction questionnaire designed by Wilailuk Prayoonpong. The statistical devices for data analysis were frequencies, percentage, mean, standard deviations and t – test.
The results revealed that: family members of patients who received Information Management Program had significantly lower scores of anxiety and higher scores of satisfaction than before the experiment and those who got the routine services program.
Keywords : Information Management Program; Anxiety;Satisfaction;
Family member; Intensive Care Unit