ภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพ, แนวปฏิบัติการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลและส่งเสริมภาวะสุขภาพ
นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ให้มีสุขภาพดี โดยศึกษาสถานการณ์
ด้านปัญหาภาวะสุขภาพของนักศึกษา พัฒนาหาแนวปฏิบัติการดูแลและส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาที่
เหมาะสม และประเมินผลการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ผู้ร่วมวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาลที่ศึกษา
อยู่ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ระหว่างปีการศึกษา 2558 -2560 จำนวน 667 คน
ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องหลัก จำนวน 10 คน กระบวนศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแล
และส่งเสริมสุขภาพนักศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติและสังเกต
3) การสะท้อนการปฏิบัติ และ 4) การปรับปรุง โดยใช้แบบสอบถามประเมินภาวะสุขภาพและความ
พึงพอใจของนักศึกษา ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ที่สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ จัดกลุ่มวิเคราะห์เนื้อหาและเทคนิคสามเส้า
(p-value < .05)
ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการดูแลและส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพ 2) การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กับปัญหาสุขภาพ 3) การดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องตามปัญหาที่พบ และ 4) การสนับสนุนปัจจัย
ที่เอื้อต่อการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ โดยพบว่าภาวะสุขภาพของนักศึกษาก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ
การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 ซึ่งปัญหาภาวะสุขภาพที่
สำคัญ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ลดลงจากร้อยละ 34.5 เหลือร้อยละ 13.7 นักศึกษามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
จาก 3.53 คะแนน เป็น 4.02 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) ผลการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลถึงภาวะสุขภาพ
ของนักศึกษาที่ดีขึ้น ภายหลังได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตามแนวปฏิบัติการดูแลและส่งเสริม
สุขภาพที่พัฒนาขึ้น จึงควรนำแนวปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพนักศึกษา โดยพัฒนา
และปรับปรุงเพื่อนำไปสู่รูปแบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพนักศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของ
วิทยาลัย ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีภาวะสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาสติปัญญา
และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีของนักศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
References
1. Government Gazette. Constitution of
the Kingdom of Thailand (B.E.2550).
Government Gazette, 2007; Vol 124,
Part 47, 24 August B.E.2550. (in Thai)
2. Ministry of Education. National Education
Act B.E. 2542 and Amendments (Second
National Education Act B.E. 2545),
Ministerial Regulations Related to
National Education Act and Compulsory
Education Act B.E. 2545. Bangkok: Ro
So Pho Printing House, 2003. (in Thai)
3. Rongruang, S. and Suknuntapong, S.
Health Promoting Behavior among
University Students in Prince of Songkla
University, Pattani Campus. Journal of
Behavioral Science, 2011; 17(1): 109-
123. (in Thai)
4. Sricamsuk, Saito, A., Voraharn, W., and
Senarak, W. Happiness of Undergraduate
Nursing Students, Faculty of Nursing,
Khon Kaen University..Journal of Nursing
Science and Health, 2011; 34(2): 70-
79. (in Thai)
5. Chuchuen, U., Panwilai, P., Klangkarn,
S., and Netthipawal, P. Effects of
Potential Development in Health
Promotion Leadership on Nursing
Students’ Knowledge, Attitude, and
Practice of Health Promotion. Thai
Pharmaceutical and Health Science
Journal, 2012; 7(3): 127-131. (in Thai)
6. Arpanantikul, M., Putwatana, P., and
Wittayasooporn, J. Health Status and
Health Practices of Thai Nursing Students.
Thai Journal of Nursing Council, 2011;
26(4): 123-136. (in Thai)
7. Musikthong, J., Sriyuktasuth, A., Kongkar,
R., and Sangwichaipat, N. Nutritional
Knowledge, Attitude towards Food,
Food Consumption Behavior, and
Nutritional Status in Nursing Students,
Faculty of Nursing, Mahidol University.
Journal of Nursing Science, 2010; 28(3):
40-49. (in Thai)
8. Klaimanee, S. Handbook of Nursing
Students’ Health Services, Boromarajonani
College of Nursing, Nakhon Ratchasima,
2014; Copied Documents. (in Thai)
9. Paophong, S., Kampiranon, U., and
Jantarasathaporn, S. Health Behaviors
of Nursing Students at Boromarajonani
College of Nursing, Nakhon Ratchasima.
The Journal of Boromarajonani College
of Nursing, Nakhon Ratchasima, 2011;
17(1): 81-92. (in Thai)
10. Kemmis, S. and McTaggart, R. The
Action Research Planer. 3rd ed. Victoria:
Deakin University, 1988.
11. Cohen, J. and Uphoff, N. Participation’s
Place in Rural Development: Seeking
Clarity through Specifcity. World
Development, 1980; 8: 213-235.
12. Phalasuek, R., Thanomchayathawatch,
B., and Songloed, D. Participatory
Action Research: Development of
a Participatory Process for Health
Promotion in the Community. The
Southern College Network Journal of
Nursing and Public Health, 2018; 5(1):
211-223. (in Thai)
13. Ampansirirat, A., Wongchaiya, P. The
Participatory Action Research: Key
Features and Application in Community.
Journal of Humanities and Social
Sciences Mahasarakham University,
2017; 36(6): 192-202. (in Thai)
14. Jiaranai, S., Moungsirithum, P., and
Maneein, A. The Creation of the Participatory Administration Model in
Institutes of Physical Education through
the National Sport University. Journal
of Education, Faculty of Education,
Srinakharinwirot University, 2015; 16(2):
44-54. (in Thai)
15. Chapha, M. Nutritional Knowledge, Food
Attitude, Food Consumption Behavior, and
Nutritional Status in Air Force Student
Nurses. Journal of The Police Nurses,
2014; 6(2): 145-157. (in Thai)
16. Samutachak, B. and Kanchanachitra,
M. What Drives Consumerism in Thai
Youth? Thammasat Journal, 2014;
33(1): 46-69. (in Thai)